หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันแม่

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันแม่

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุภาภรณ์ แสงจันทร์อำไพ / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 3

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันแม่

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. พูดเล่าเรื่องเกี่ยวกับแม่เป็นประโยคต่อเนื่องได้

2. เด็กรู้จักส่วนประกอบของหนังสือ

3. ตอบคำถามเกี่ยวกับนิทานเรื่องนมจากเต้าได้

4. ปฏิบัติการเล่นบทบาทสมมติซื้อดอกมะลิตามจำนวนเงินที่มีได้

5. เปรียบเทียบจำนวนเงินตามตัวเลขระหว่างตัวเลขที่น้อยที่สุดและมากที่สุดได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK5. รู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดในร้านค้า มีราคาที่แตกต่างกัน

FA1. รู้สึกขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของจากผู้อื่น (อนุบาล)

FA5. รู้สึกถึงความสำเร็จเมื่อได้รับคำชมเชยถึงความพยายาม (อนุบาล)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

1.  ครูสนทนาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับแม่ของเด็กแต่ละคน ดังนี้

        - แม่ทำอะไรให้เราบ้างเมื่อเราอยู่ที่บ้าน

        - ลักษณะนิสัยของแม่เป็นคนอย่างไร

        - บอกความประทับใจของเราที่มีต่อแม่มา 1 ข้อ

2.  อาสาสมัครเด็กขึ้นมาเล่าเรื่องราว 4 - 5 คน

 

ขั้นสอน

1.  ครูแนะนำหนังสือนิทานเรื่อง นมจากเต้าให้เด็ก ดังนี้

        - บอกส่วนประกอบของนิทาน ประกอบด้วย หน้าปกหน้าปก หลังปก เนื้อเรื่อง ผู้แต่ง และผู้วาดภาพ

2.  ครูอ่านนิทานเรื่อง นมจากเต้าให้เด็กฟัง 1 รอบ

3.  สนทนาซักถามจากการฟังนิทาน ดังนี้

        - มีตัวละครใดบ้าง

        - เด็ก ๆ ชอบตอนไหนมากที่สุด เด็ก ๆ ชอบตอนไหนมากที่สุด

4.  ฝึกการเขียนอิสระตามความสนใจโดยให้ครูเขียนประโยคตัวอย่างที่เด็กชอบตามคำบอกของเด็กแต่ละคนไว้บนกระดาน เมื่อครูเขียนเสร็จครูอ่านให้เด็กฟังหนึ่งรอบ จากนั้นให้เด็กเลือกเขียนตามคนละ 1 คำหรือ 1 ประโยคที่ชอบจากนิทาน

5.  ครูพูดสนทนากับเด็กเกี่ยวกับดอกไม้ที่ได้ร่วมกันทำเมื่อวาน

6.  คุณครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดอกมะลิที่เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ ซึ่งดอกมะลิสามารถประดิษฐ์เองได้และสามารถซื้อตามร้านค้าได้

7.  คุณครูนำเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติโดยครูกำหนดตัวละคร ดังนี้

        - คุณครูเป็นแม่ค้า

        - นักเรียนเป็นลูกค้า

8.  ครูให้เด็กมาหยิบฉลากเมื่อได้ตัวเลขอะไรให้ไปหยิบจำนวนเงินตามตัวเลขนั้น หากเด็กคนไหนหยิบจำนวนเงินผิดครูพูดอธิบายเพิ่มเติมให้เด็กและให้เด็กไปหยิบซ้ำอีก 1 รอบ

9.  ครูแนะนำดอกมะลิที่มีขนาดแตกต่างกัน คือ

        - ดอกมะลิขนาดเล็ก ราคา 5 บาท

        - ดอกมะลิขนาดกลาง ราคา 10 บาท

        - ดอกมะลิขนาดใหญ่ ราคา 20 บาท

10.  ครูเริ่มให้สัญญาณการเล่นบทบาทสมมติ

11.  ครูจดบันทึกจำนวนเงินในบอร์ดกระดาษ โดยเรียงตามเลขที่

12.  ครูและเด็กสรุปร่วมกันว่านักเรียนคนไหนที่ทำการซื้อขายดอกมะลิด้วยจำนวนเงินที่มากที่สุด

 

ขั้นสรุป

1.  ครูเปิดเพลง อิ่มอุ่น ให้เด็กฟัง 1 รอบ

2.  ครูพูดขอบคุณและชมเชยเด็กในการร่วมกิจกรรมวันนี้และให้เด็กทุกคนปรบมือให้ตัวเอง

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  สังเกตการพูดเล่าเรื่อง เกี่ยวกับแม่เป็นประโยคต่อเนื่อง

2.  สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถามเกี่ยวกับส่วนประกอบของหนังสือ

3.  สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับนิทานเรื่องนมจากเต้า

4.  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการเล่นบทบาทสมมติซื้อดอกมะลิตามจำนวนเงิน

5.  สังเกตการเปรียบเทียบจำนวนเงินตามตัวเลขระหว่างตัวเลขที่น้อยที่สุดและมากที่สุด