The Young Leaders in Finance Fin. forward

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : The Young Leaders in Finance Fin. forward

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูณฌา แดหวามาลัย / โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม / ชมรม / ค่าย / ชั่วโมงแนะแนว) ได้แก่ PSU WIT World class learnerเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความใจเกี่ยวกับการเงิน รวมถึงสามารถเป็นผู้นำในการถ่ายทอดความรู้ทางการเงิน

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

 

 

ด้านคุณลักษณะ

แผนจัดการเรียนรู้ “ความรู้ทางการเงิน”

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน

3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำไว้ 

 

- มุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม

- มีจิตสาธารณะ

- มี SMART

 

แผนจัดการเรียนรู้ “การวางแผนทางการเงินและสุขภาพการเงิน”

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพการเงิน

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางการเงิน

3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางการเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำไว้

 

แผนจัดการเรียนรู้ “การปฏิบัติตนด้านการเงินที่ถูกต้องและการลงทุนตามหลัก Dollar-Cost Averaging (DCA)”

1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านการเงินที่ถูกต้องและการลงทุนตามหลัก DCA

2. ผู้เรียนสามารถอธิบายและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านการเงินที่ถูกต้องและการลงทุนตามหลัก DCA

3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านการเงินที่ถูกต้องและการลงทุนตามหลัก DCA ไปปรับใช้ในชีวิตประจำไว้

 

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FB10. ยับยั้งชั่งใจในการซื้อของที่ไม่จำเป็น (ป. ปลาย)

FK96. รู้วิธีวางแผนการเงินเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต (ม. ปลาย)

FK102. รู้ว่าสถานการณ์ทางการเงินของตนเองมีผลต่อแผนการออมเงิน (ม. ปลาย)

FK103. รู้ว่าสามารถออมหรือลงทุนระยะสั้น เพื่อบรรลุความต้องการระยะยาวในอนาคตได้ (ม. ปลาย)

FK114. รู้ว่ามีการหลอกลวงที่เกี่ยวกับการลงทุน เช่น แชร์ลูกโซ่ (ม. ปลาย)

FK115. รู้แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับภัยทางการเงินและการเตือนภัยต่าง ๆ (ม. ปลาย)

FK116. รู้ว่าควรขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเบาะแสภัยทางการเงินที่หน่วยงานใด (ม. ปลาย)

FB27. วางแผนเพื่อลดการใช้จ่ายที่เกินตัว การซื้ออย่างหุนหันพลันแล่น การซื้อตามโฆษณา หรือการซื้อตามกระแสสังคม (ม. ปลาย)

FB28. พิจารณาทางเลือกที่ยั่งยืนแทนการซื้อใหม่ เช่น การใช้ซ้ำและการรีไซเคิล (ม. ปลาย)

FB30. สามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับตนเองและเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี : 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นนำ  Check in ผ่านคำถาม ผู้เรียนคิดว่าเราจำเป็นต้องรู้เรื่อง “การเงิน” หรือไม่ และ “ผู้เรียนเคยเจอภัยทางการเงินรูปแบบใดบ้าง”

ขั้นสอน  ให้ผู้เรียนทำคลิปวิดิโอผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรม learning content เผยแพร่ในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มละ 5-6 คน โดยมีการเปิดตัวอย่างคลิป และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเนื้อหาและทำคลิป

ขั้นสรุป  ผู้เรียนนำเสนอผลงาน และสรุปความรู้ผ่านสื่อผลงานที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำ

 

ชั่วโมงที่ 2

ขั้นนำ  Check in ผ่านคำถาม ใน Pedlet ว่า “ผู้เรียนอยากเกษียณตอนอายุกี่ปี”

ขั้นสอน  ให้ผู้เรียนลองคำนวนจำนวนเงินที่คาดว่าจะออมต่อเดือน จนถึงอายุที่ตัวเองต้องการเกษียณว่าเพียงพอหรือไม่อย่างไร พร้อมกระตุ้นความคิดว่า “ทำอย่างไรให้เกษียณได้จริงตามอายุที่วางไว้” จากนั้นทำกิจกรรม “What's in my bags !! What I eat in a day เพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงหลักการเลือกซื้อสินค้าและบริการตามหลักเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงสู่เนื้อหาการ “วางแผนทางการเงิน และตรวจสุขภาพทางการเงิน” โดยผู้เรียนทดลองตรวจสุขภาพทางการเงินของตนเองและมอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนตรวจสุขภาพทางการเงินให้คนในครอบครัว

ขั้นสรุป  สรุปความรู้ผ่านกิจกรรม “What's in my bags ! What I eat in a day และผลการตรวจสุขภาพทางการเงินของผู้เรียน

 

ชั่วโมงที่ 3

ขั้นนำ  Check in ผ่านคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ว่า “1 ปี ก็มีเงินก้อนได้ผ่านการออม”

ขั้นสอน  ให้ผู้เรียนลองวิเคราะห์ความสำเร็จของตัวละครหลักในซีรี่ส์ทั้ง 2 เรื่อง และเชื่อมโยงสู่การลงทุนตามหลัก Dollar-Cost Averaging (DCA) จากนั้นให้ผู้เรียนรวมกลุ่ม 5-6 คน ช่วยกันวิเคราะห์ว่าในวัยของผู้เรียนสามารถลงทุนตามหลัก DCA จึงจะเหมาะสมกับวัยและฐานะทางการเงินของผู้เรียน และสุ่มให้ผู้เรียนบางกลุ่มนำเสนอวิธีการลงทุนตามหลัก DCA เพื่อให้เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ผู้สอนช่วยเพิ่มเติมในประเด็นที่น่าสนใจ

ขั้นสรุป  สรุปความรู้ผ่านใบงาน “วัยรุ่นวัยใจกับการลงทุนตามหลัก DCA” โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนสรุปวิธีการลงทุนตามหลัก DCA ของตนเอง

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

 

การวัดและประเมินผล

 

 

วิธีการวัดผล

 

เครื่องมือวัดผล

 

เกณฑ์การประเมินผล

แผนจัดการเรียนรู้ “ความรู้ทางการเงิน”

1. ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้

- สังเกตการทำกิจกรรม

- การวางแผนการสำรวจ

- การทำงานกลุ่ม

- แบบสังเกตการการจับกลุ่ม
- แบบประเมินสื่อภัยทางการเงิน

 

- การทำงานกลุ่มระดับ 2 ขึ้นไป
- ตรวจชิ้นงาน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

- การนำเสนอคุณลักษณะ ระดับ 2 ขึ้นไป

 

แผนจัดการเรียนรู้ “การวางแผนทางการเงินและสุขภาพการเงิน”

1. ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้

- สังเกตการทำกิจกรรม

- การวางแผนการสำรวจ

- การทำงานกลุ่ม/
การทำงานเดี่ยว

- แบบสังเกตการการจับกลุ่ม

- แบบประเมินการวางแผนทางการเงิน
- การตรวจสุขภาพทางการเงิน

 

- การทำงานกลุ่มระดับ 2 ขึ้นไป
- ตรวจชิ้นงาน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

แผนจัดการเรียนรู้ “การปฏิบัติตนด้านการเงินที่ถูกต้องและการลงทุนตามหลัก DCA”

1. ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้

- สังเกตการทำกิจกรรม

- การวางแผนการสำรวจ

- การทำงานกลุ่ม/
การทำงานเดี่ยว

 

- แบบสังเกตการการจับกลุ่ม

- ใบงาน

 

- การทำงานกลุ่มระดับ 2 ขึ้นไป
- ตรวจชิ้นงาน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์