การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : Unbag & Financial Disaster

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูบัณฑิตา ศรีขวัญ / โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 2

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - สังคมศึกษา 4 (สาระเศรษฐศาสตร์)

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ด้านคุณลักษณะ

1.  ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

2.  ผู้เรียนสามารถอธิบาย และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

3.  ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำความรู้ทางการเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.  ผู้เรียนมีพื้นฐานในการวางแผนทางการเงินเพื่อตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและจัดลำดับความสำคัญได้

-  มีวินัย

-  ใฝ่เรียนรู้

-  มุ่งมั่นและทำงานเป็นทีม

-  รักความเป็นไทย

-  มีจิตสาธารณะ

-  มีความคิดแบบวิทย์

-  มีความรับผิดชอบ

-  เป็นพลโลก

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FB10. ยับยั้งชั่งใจในการซื้อของที่ไม่จำเป็น (ป. ปลาย)

FA17. มีความมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล แม้ว่าจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม (ม. ต้น)

FA18. มีแรงจูงใจที่จะหาข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ (ม. ต้น)

FB20. แยกความจำเป็นและความต้องการและจัดลำดับความสำคัญได้ (ม. ต้น)

FK44. รู้ว่าต้องประเมินความสามารถในการจ่ายเงิน หรือกำลังทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อสินค้าไม่ด่วนตัดสินใจทันทีทันใด (ม. ต้น)

FK49. รู้ว่าสินค้าหรือบริการแบบเดียวกันอาจมีราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การตั้งราคาของผู้ขาย สถานที่ขาย ช่วงเวลาที่ขาย ช่องทางการขายสินค้าทั้งแบบ online และ offline (ม. ต้น)

FK52. รู้ว่าอายุนิสัย ความชอบ หรือกิจกรรมในครอบครัว มีผลต่อรายรับ-รายจ่าย (ม. ต้น)

FK61. รู้รูปแบบ ลักษณะข้อสังเกตของภัยทางการเงิน และวิธีการป้องกันตนเองจากภัยทางการเงิน (ม. ต้น)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

สังคมศึกษา

 

ส 3.1 ม.2/1 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม

 

 

ส 3.1 ม.2/3 เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ส 3.2 ม.2/2 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ

และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

1.  ผู้สอนทำกิจกรรม unbag จากสิ่งที่มีในกระเป๋าของผู้สอน (5 นาที)

 

ขั้นสอน

2.  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนผ่านการเขียนชื่อลงไปในกระดาษโน้ต จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มหยิบสิ่งของในกระเป๋าของตนเองแล้วกำหนดมูลค่าสิ่งของในกระเป๋าของตนเองลงไปในใบงาน “Unbag & Financial Disaster” (5 นาที)

 

3.  ผู้สอนนำกิจกรรม “ชวนน้องไป Shopping” โดยแจกธนบัตรมูลค่า 100 บาท (ตัดกระดาษตามสีแบงก์) และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกซื้อสินค้าได้เพียง 1 ชิ้น โดยมีสินค้าให้ผู้เรียนเลือกดังนี้ (5 นาที)

    - ไก่ทอดเคเอฟซี 100 บาท         - ไก่ทอดห้าดาว 100 บาท

    - ข้าวไก่ทอด 100 บาท             - ข้าวเหนียวไก่ทอด 100 บาท

 

4.  ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มคิดหาคำตอบว่าปัจจัยใดที่มีผลในการเลือกซื้อสินค้า (เช่น ความจำเป็น ความสนใจ ราคา การโฆษณา) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของตนเอง (10 นาที)

 

5.  ผู้เรียนส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าหน้าชั้นเรียน (5 นาที)

 

6.  ผู้สอนรวบรวมคำตอบของผู้เรียนแต่ละกลุ่มที่เขียนบนกระดาน และร่วมกันวิเคราะห์เชื่อมโยงปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า รวมถึงปัญหาที่พบเจอในการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน

 

7.  ผู้สอนให้ผู้เรียนที่ต้องการเล่าประสบการณ์ที่พบเจอ ยกตัวอย่างประสบการณ์ให้เพื่อนในชั้นได้รับฟัง (5 นาที)

 

8.  ผู้สอนใช้คลิปวิดีโอ เรื่อง “ภัยในการเลือกซื้อสินค้า” เป็นสื่อการเรียนรู้ (7 นาที)

 

ขั้นสรุป

9.  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้ (5 นาที)

 

10.  ผู้สอนตอบคำถามและข้อสงสัยของผู้เรียน (3 นาที)

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

 

การวัดและประเมินผล

 

วิธีการวัดผล

 

 

เครื่องมือวัดผล

 

เกณฑ์การประเมินผล

1. ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้

- สังเกตการทำกิจกรรม

- การวางแผนการสำรวจ

- การทำงานกลุ่ม

- แบบสังเกตการการจับกลุ่ม
- แบบประเมินสื่อภัยทางการเงิน

 

- การทำงานกลุ่มระดับ 2 ขึ้นไป
- ตรวจชิ้นงาน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

- การนำเสนอคุณลักษณะ ระดับ 2 ขึ้นไป