การงานอาชีพ (งานธุรกิจ)
ชื่อกิจกรรม : การงานอาชีพ (งานธุรกิจ)
ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูสมหมาย พงศ์เศรษฐ์กุล / โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 3
รูปแบบการนำไปใช้ :
สอดแทรกในรายวิชา - ง23101 การงานอาชีพ (งานธุรกิจ ม.3)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนการเงินส่วนบุคคล จัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย มีพฤติกรรมปฏิบัติตนให้ได้ใน 4 ด้าน คือ ออมไว้เพื่ออนาคต ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เห็นคุณค่าของเหลือใช้ และรู้จักหารายได้เพิ่ม รวมถึงเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด
สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :
FK51. รู้วิธีการตั้งเป้าหมายทางการเงินระยะยาวและการจัดสรรเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น (ม. ต้น)
FK52. รู้ว่าอายุ นิสัย ความชอบ หรือกิจกรรมในครอบครัว มีผลต่อรายรับ-รายจ่าย (ม. ต้น)
FK54. เข้าใจประโยชน์ของการเริ่มออมให้เร็วที่สุดและออมอย่างสม่ำเสมอ (ม. ต้น)
FK.64 รู้สิทธิของผู้บริโภคเมื่อซื้อสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการซื้อออนไลน์ เช่น การคืนสินค้า การขอคืนเงิน
การเปิดเผยข้อมูล (ม. ต้น)
FA17. มีความมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล แม้ว่าจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม (ม. ต้น)
FA21. เชื่อว่าการวางแผนการเงินที่เริ่มต้นเร็ว ช่วยสร้างทางเลือกให้บรรลุเป้าหมาย (ม. ต้น)
FB16. สามารถวางแผนชีวิตระยะยาว โดยคำนึงถึงนัยสำคัญทางการเงินได้ เช่น การเลือกสาขาวิชาในการศึกษา
ต่อจะส่งผลต่ออาชีพและรายได้ในอนาคต (ม. ต้น)
FB20. แยกความจำเป็นและความต้องการ และจัดลำดับความสำคัญได้ (ม. ต้น)
FB21. จัดสรรเงินและติดตามสถานการณ์เงินของตนเองเพื่อไม่ให้ใช้เงินเกินที่จัดสรรไว้ (ม. ต้น)
FB22. ทบทวนเป้าหมายทางการเงินและปรับแผนหากจำเป็น (ม. ต้น)
ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :
กลุ่มสาระการเรียนรู้ | ตัวชี้วัดระหว่างทาง | ตัวชี้วัดปลายทาง |
การงานอาชีพ | ง 1.1 ม.3/1 อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ | ง 1.1 ม.3/3 อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม |
ง 1.2 ม.3/2 ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม |
กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :
ครูใช้หลักการ 3 ว. 4 ส.
3 ว. เป็นขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน ประกอบด้วย
1. ว.ที่ 1 หมายถึง การวางแผน
1. กำหนดเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART
2. วางแผนทางการเงิน โดยจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล
2. ว.ที่ 2 หมายถึง วินัย
1. ปฏิบัติตนตามแผนที่วางไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้
2. ทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย
3. ว.ที่ 3 หมายถึง วิเคราะห์
1. ทบทวนการปฏิบัติจริงกับเป้าหมายว่าเมื่อครบกำหนดเวลาจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่
2. เปรียบเทียบงบประมาณกับบันทึกรับจ่ายจริงแล้ววิเคราะห์ปรับงบประมาณในเดือนถัดไป
4 ส. เป็นขั้นตอนการทำงานให้สัมฤทธิ์ผลหรือทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม ประกอบด้วย
1. ส.ที่ 1 หมายถึง สติ ในการทำงานต้องมีสติ รู้สึกตัวอยู่เสมอ คิดก่อนวางแผน คิดก่อนทำ หรือคิดก่อนพูดเสมอ
2. ส.ที่ 2 หมายถึง สงบ ในการทำงานต้องใจเย็น รู้จักระงับอารมณ์ ไม่เป็นคนใจร้อน อารมณ์ร้าย ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและแก้ปัญหาอย่างสันติ
3. ส.ที่ 3 หมายถึง สะอาด ในการทำงานต้องใจสะอาด หมายถึง ใจบริสุทธิ์ คิดดี และคิดบวก มั่นใจในตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าเราทำได้ และเช่นกันต้องคิดดี คิดบวกกับคนอื่นเสมอ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
4. ส.ที่ 4 หมายถึง สายกลาง ในการทำงานหรือการประพฤติปฏิบัติตนต้องให้พอดี พอเหมาะกับตนเอง ไม่ทำอะไรหรือคาดหวังอะไรที่สูงเกินไป จะไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
จัดกระบวนการเรียนรู้ห้องเรียนการเงิน มีดังนี้
ขั้นตอน | กิจกรรมการเรียนรู้ | สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ |
หน่วยที่ 1 การกำหนดเป้าหมายในชีวิต (ว.1 วางแผน ส.4 สายกลาง) | ||
ขั้นนำ | 1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ รายวิชา ง23101 การงานอาชีพ (งานธุรกิจ) และวิธีการวัดประเมินผล 2. นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายชีวิต และเป้าหมายชีวิตที่สำคัญและควรวางแผนไว้มีด้านใดบ้าง 3. ซักถามนักเรียนว่านักเรียนมีการกำหนดเป้าหมายชีวิตของนักเรียนไว้ในด้านใดบ้าง เพราะอะไรจึงกำหนดด้านนั้น ๆ | - เอกสารประกอบการเรียน ง23101 การงานอาชีพ (งานธุรกิจ) - โปรเจคเตอร์
|
ขั้นทำกิจกรรม | 1. สุ่มนักเรียนออกมาหน้าชั้นเรียน 3 คน สอบถามว่า นักเรียนกำหนดเป้าหมายชีวิตด้านใดบ้าง ส่วนมากทุกห้องจะได้คำตอบ คือ ด้านการศึกษา และด้านอาชีพ ส่วนเป้าหมายด้านการเงินจะไม่มีการวางแผนไว้เลย ด้วยเหตุผลที่ว่าพ่อแม่ต้องรับผิดชอบ 2. ให้นักเรียนดูซีดีเงินทองของมีค่า จบแล้วให้นักเรียนช่วยกันสรุปว่า การกำหนดเป้าหมายชีวิตมีกี่ด้านอะไรบ้าง คำตอบคือ ด้านการศึกษา อาชีพ การเงิน ครอบครัว สังคม สุขภาพ และสันทนาการ 3. นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 1-4 4. นักเรียนจับคู่ศึกษาความรู้เรื่องการกำหนดเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART 5. นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 5 | - เอกสารประกอบการเรียน ง23101 การงานอาชีพ (งานธุรกิจ) - หนังสือเงินทองของมีค่า - ซีดีเงินทองของมีค่า - โปรเจคเตอร์
|
ขั้นสรุป | นักเรียนกำหนดเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART ของตนเองในระยะ 3 เดือน |
|
หน่วยที่ 2 ยอดนักคิดพิชิตเงินออม (ว.1 วางแผน ว.2 มีวินัย ว.3 คิดวิเคราะห์, ส.1 สติ ส.2 สงบ ส3 สะอาด ส.4 สายกลาง) | ||
ขั้นนำ | แจ้งจุดประสงค์การเรียนและเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุในหน่วยนี้คือ นักเรียนทุกคนต้องมีเงินออมเป็นของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายรับที่ได้มาในแต่ละเดือน หรือ ต้องมีวินัย ทำเป้าหมายด้านการเงินให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อใช้เป็นคะแนนสอบกลางภาควัดพฤติกรรมด้านการดำรงชีวิตและครอบครัวทักษะการใช้ชีวิตด้านการเงิน 1. สุ่มถามนักเรียนว่า มีนักเรียนคนใดบ้างที่ออมเงินตั้งแต่อนุบาลจนถึงปัจจุบัน และบอกเหตุผลว่าทำไมจึงออม คิดออมเอง หรือผู้ปกครองออมให้ 2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าในการดำรงชีวิตทุกวันนี้ หากนักเรียนมีเงินออมจะมีผลดีต่อตนเองและครอบครัวอย่างไรและหากไม่มีเงินออมจะมีผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวอย่างไรบ้าง ช่วยกันระดมความคิดเห็น โดยใช้ Padlet | - padlet - โปรเจคเตอร์
|
ขั้นทำกิจกรรม | 1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ศึกษาความรู้เรื่องการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล สรุปองค์ความรู้ในบันทึกท้ายเอกสารประกอบการเรียน สรุปแหล่งที่มาของรายรับ และรายจ่ายที่จำเป็นสำหรับนักเรียนว่ามีอะไรบ้าง 2. สาธิตขั้นตอนการทำงบประมาณส่วนบุคคล สำหรับนักเรียน 3. นักเรียนปฏิบัติทำงบประมาณของตนเอง เดือนพฤษภาคม 4. ให้นักเรียนอภิปรายว่าเมื่อมีการวางแผนทางการเงินหรือทำงบประมาณส่วนบุคคลแล้ว จะทราบได้อย่างไรว่า เราได้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และการใช้จ่ายเป็นไปตามแผนหรือไม่ จะได้คำตอบว่าต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน 5. นักเรียนจับคู่ศึกษารายจ่ายที่จำเป็น (Need) และรายจ่ายที่ไม่จำเป็น (want) สำหรับนักเรียนว่ามีอะไรบ้าง และทำแบบวัดความฟุ่มเฟือยของตนเอง 6. สาธิตการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย และให้นักเรียนทุกคนทำบันทึกรายรับรายจ่ายเดือนพฤษภาคม เพื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ 7. วิเคราะห์ผลต่างระหว่างงบประมาณกับบันทึกรับจ่ายเพื่อจัดทำงบประมาณเดือนถัดไปให้เหมาะสมกับตนเอง 8. ศึกษา ค้นคว้า หรือคิดค้นเทคนิคการออมที่ดลใจมากลุ่มละ 1 เทคนิค นำเสนอหน้าชั้นเรียน 9. จับคู่คิดวิธีเพิ่มเงินออมโดยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ช่วยกันคิดว่ารายจ่ายที่ไม่จำเป็นในแต่ละวันที่ใช้ไปมีอะไรบ้าง และรายจ่ายไหนที่สามารถลดได้ และให้คำนวณว่าถ้าลดได้จริง 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 1 ปี สามารถเพิ่มเงินออมได้อีกกี่บาท 10. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน ศึกษาค้นคว้าเรื่องสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการออมทรัพย์ ทำเป็นแผนผังความคิด 11. ทำใบกิจกรรม พลังดอกเบี้ยทบต้น 12. แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย จากสื่อ ICT หรือ เว็บไซต์ของ คปภ. กลุ่มที่ 2 ศึกษาความรู้เรื่อง การประกันชีวิต และกลุ่มที่ 3 ศึกษาความรู้เรื่องการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) | - เอกสารประกอบการเรียน ง23101 การงานอาชีพ (งานธุรกิจ) - บันทึกรายรับ-รายจ่าย - โปรแกรม excel บันทึกรายรับ-รายจ่าย - แผ่นภาพเทคนิคการออมรูปแบบ ต่าง ๆ - ตัวอย่างภาพการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น - สื่อ Recycle ของรุ่นพี่ - เว็บไซต์ของ คปภ.
|
หน่วยที่ 3 เตรียมพร้อมเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด (ว.ที่ 1 วางแผน ว.ที่ 2 มีวินัย ว.ที่ 3 วิเคราะห์ ส.ที่ 1 สติ ส.ที่ 2 สงบ ส.ที่ 4 สายกลาง) | ||
ขั้นนำ | 1. แจ้งเป้าหมายของการเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อ และการวัดผล 2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ผู้บริโภคตามความเข้าใจของนักเรียนหมายความว่าอย่างไร และหมายถึงใครบ้าง | - เอกสารประกอบการเรียน - ชุดกิจกรรมเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค - หนังสือเงินทองของมีค่าของตลาดทหลักทรัพย์ - ซีดีเงินทองของมีค่าของตลาดหลักทรัพย์ - เว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน -เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย “รู้ทันภัยทางการเงิน ตั้งสติไว้ไม่โดนหลอก - แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ จากสื่อ ICT |
ขั้นทำกิจกรรม | 1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ศึกษาชุดกิจกรรมเรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค ทำบัตรกิจกรรม และบัดรทดลอบ 2. นักเรียนกลุ่มเดิมศึกษาความรู้เรื่องผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อและประหยัดใช้จากเว็บไซต์กรมการค้าภายใน สรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด 3. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องการโฆษณากับผู้บริโภคจากหนังสือเงินทองของมีค่าและดูซีดีเงินทองของมีค่า และสรุปองค์ความรู้ 4. นักเรียนศึกษาโฆษณาที่ดลใจมากลุ่มละ 1 เรื่อง นำเสนอและวิเคราะห์ให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน - รูปแบบการโฆษณา - ความน่าเชื่อถือ - กลวิธีการจูงใจให้ซื้อสินค้า - การให้ข้อมูล 5. นักเรียนศึกษาเรื่องสินเชื่อจากหนังสือเงินทองของมีค่า สรุปผลดีผลกระทบต่อการมีหนี้ทั้งต่อตนเองและครอบครัว 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อดีของการเป็นหนี้บัตรเครดิต การชำระหนี้ และผลกระทบหากชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนและไม่ตรงเวลา 7. นักเรียนจับคู่ค้นคว้าอภัยทางการเงินที่พบเจอในปัจจุบัน และให้วิเคราะห์ว่าเราควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นกับเราและครอบครัว | |
ขั้นสรุป | ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณสมบัติของการเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด “ฉลาดซื้อ ประหยัดใช้” และการปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจาก “ภัยทางการเงิน” |
การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :
สิ่งที่ต้องการวัด | ภาระงาน/ชิ้นงาน | เครื่องมือวัด | วิธีการวัด | เกณฑ์การผ่าน |
ความรู้ (K) | - แผนผังความคิดเป้าหมายชีวิตของตนเอง - ใบกิจกรรมการกำหนดเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART - แผนผังความคิดเรื่องเทคนิคการออม - ใบกิจกรรมเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยทบต้น | - แบบทดสอบ - ใบกิจกรรม - แบบฝึกหัด
| - ทดสอบ - ทำใบกิจกรรม - ทำแบบฝึกหัด | ร้อยละ 70 |
ทักษะ (P) | - แผ่นภาพการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น - การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย | - แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย | - ตรวจผลงาน | ร้อยละ 70 |
วัดคุณลักษณะ (A) | - บัญชีเงินฝาก/หลักฐานการออมเงินกับสถาบันการเงิน/อื่น ๆ - การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย | - แบบสังเกตคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์ - แบบสังเกตคุณลักษณะด้านการมีวินัย - แบบสังเกตคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง | - สังเกตคุณลักษณะ | ระดับดีขึ้นไป |
สมรรถนะ (C) | - การมีความสามารถในการดำรงชีวิต 4 ประเด็น - ออมไว้เพื่ออนาคต - ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น - เห็นคุณค่าของเหลือใช้ - รู้จักหารายได้เพิ่ม | แบบประเมินสมรรถนะ - การคิด - การแก้ปัญหา - การสื่อสาร - การใช้ทักษะชีวิต - การใช้เทคโนโลยี | ประเมินสมรรถนะจากกิจกรรมที่ทำ | ระดับดีขึ้นไป |