ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
25 มกราคม 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมกราคม 2565
การอุปโภคบริโภค หดตัวน้อยลง
จากการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันและการใช้จ่ายภาคบริการ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาดำเนินการได้ดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว
ตามการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ่ที่ขยายตัวจากการนำเข้าอุปกรณ์สำนักงาน (ไม่รวมคอมพิวเตอร์)/ อุปกรณ์การแพทย์/ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวจากยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่เร่งสูงขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวมากขึ้น
จากรายจ่ายประจำของ อบจ. เทศบาล สพฐ. และรายจ่ายอื่นของงบกลาง ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวจากกรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบทและหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
การค้าผ่านด่านศุลกากร
การส่งออก หดตัวต่อเนื่อง ตามการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และผลไม้ไปจีนที่ลดลงจากผลกระทบของนโยบาย Zero-COVID
การนำเข้า กลับมาหดตัว ตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์จากจีนที่ลดลงจากผลกระทบของนโยบาย Zero- COVID
รายได้เกษตรกร กลับมาขยายตัว
ทั้งด้านผลผลิตและราคา โดยเฉพาะผลผลิตอ้อยโรงงานจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่วนราคาปรับตัวดีขึ้น ตามราคาปศุสัตว์ โดยเฉพาะราคาสุกรและไก่ รวมถึงราคามันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ตามความต้องการของตลาด
ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง
ตามการผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการในต่างประเทศและผลผลิตอ้อยโรงงาน ขณะที่การผลิตเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การติดเชื้อในโรงงานที่คลี่คลาย
อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารสด
การจ้างงาน ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนจากผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงาน (ม.38) ที่ลดลงแต่ยังคงเปราะบาง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
28 กุมภาพันธ์ 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th