ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
31 พฤษภาคม 2566
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนกรกฎาคม 2566
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
การอุปโภคบริโภค หดตัวน้อยลง
ตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงวันหยุดยาว การจัดสอบแข่งขันเข้ารับราชการที่เพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายสินค้าหมวดบริการเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคและกึ่งคงทนหดตัว จากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับรายได้เกษตรที่หดตัว และสินค้าคงทนหดตัว จากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวน้อยลง
ตามการลงทุนด้านก่อสร้างที่ขยายตัว ทั้งพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างและยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวตามการนำเข้าสินค้าทุนประเภทอุปกรณ์สำนักงาน และยอดจดทะเบียนรถยนต์หดตัวต่อเนื่อง ทั้งรถกระบะและรถแทรกเตอร์
การค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัวชะลอลง
การส่งออก ชะลอลงมาก ตามการส่งออกทุเรียนไปจีนที่ชะลอลงตามผลผลิตที่ลดลงหลังหมดฤดูกาล ประกอบกับการส่งออกไปเวียดนามและกัมพูชายังหดตัวต่อเนื่อง
การนำเข้า ชะลอลง ตามการนำเข้าหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากจีนและเวียดนามเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่หดตัวตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว
รายได้เกษตรกร กลับมาหดตัว
จากราคายางพาราที่หดตัวตามราคาในตลาดโลก และราคาปศุสัตว์ที่ลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และความต้องการบริโภคที่ลดลง ขณะที่ผลผลิตชะลอลง จากผลผลิตมันสำปะหลัง เนื่องจากมีฝนตกบางพื้นที่ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงจากการรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนกำหนดเพื่อลดความเสียหาย
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาหดตัว
จากการผลิตเพื่อส่งออกที่ลดลงตามอุปสงค์ต่างประเทศในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ ขณะที่ยางพาราแปรรูปขยายตัวจากผลผลิตยางพาราที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นตามพื้นที่กรีดยางที่เพิ่มขึ้น และไก่แช่แข็งขยายตัวตามความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง
การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง (ปรับฤดูกาล)
ตามผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเป็นสำคัญ จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในวันหยุดยาวช่วงปลายเดือนในจังหวัดท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดสอบแข่งขันเข้ารับราชการในช่วงต้นเดือน ช่วยกระตุ้นให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาอาหารสด โดยเฉพาะไข่ ปลาและสัตว์น้ำ สำหรับราคาพลังงานหดตัวน้อยลง
ตลาดแรงงาน ทรงตัว ตามการจ้างงานในระบบปรับดีขึ้นสะท้อนจากผู้ประกันตน (มาตรา 33) ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน (มาตรา 38) ลดลง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
- ผลกระทบของภัยแล้งต่อรายได้เกษตรกรและการฟื้นตัวของการบริโภค
- นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 สิงหาคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th