ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
03 สิงหาคม 2566
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาส 2 ปี 2566
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อน
การอุปโภคบริโภค หดตัวต่อเนื่อง
จากสินค้าคงทนที่หดตัว ตามความเข้มงวดในการ
ให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน การใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้ากึ่งคงทนหดตัวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐที่น้อยกว่าปีก่อน และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวเล็กน้อยตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงวันหยุดยาว
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวลดลง
จากการการลงทุนด้านก่อสร้างที่ขยายตัว ตามปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ และการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวลดลงจากการนำเข้าสินค้าทุน และยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังหดตัวต่อเนื่องหลังจากเพิ่มสูงจากความต้องการออกรถเพื่อลงทุนประกอบอาชีพในช่วงการระบาดของโควิด 19
การค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัวต่อเนื่อง
การส่งออกขยายตัว ขยายตัวตามการส่งออกทุเรียนไปจีน ยานยนต์ ผลไม้เครื่องดื่มไปลาว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่มไปเวียดนาม จากความต้องการของตลาดที่มีต่อเนื่อง
การนำเข้าขยายตัว ขยายตัวตามการนำเข้าจากจีนที่ขยายตัวในทุกหมวดสินค้า อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ จากผลของการเปิดประเทศเป็นสำคัญ
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
จากผลผลิตเป็นสำคัญ ตามผลผลิตของยางพาราจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอในปีก่อนช่วยให้เจริญเติบโตได้ดีและพื้นที่กรีดยางที่เพิ่มขึ้น และข้าวนาปรังที่ได้รับผลดีจากปริมาณน้ำที่เพียงพอในช่วงเพาะปลูก ขณะที่ราคาหดตัวจากราคายางพาราตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นและความต้องการของต่างประเทศลดลง
ภาคอุตสาหกรรม หดตัวลดลง
ตามการผลิตยางพาราแปรรูปที่ยังขยายตัวตามผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอยังหดตัวต่อเนื่องตามความต้องการของประเทศคู่ค้า แป้งมันสำปะหลังหดตัวตามผลผลิตที่ลดลงจากผลกระทบของอุทกภัยในปีก่อน
การท่องเที่ยว ขยายตัวชะลอลง (ปรับฤดูกาล)
ตามการชะลอตัวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มประชุม สัมมนาภาครัฐ หลังจากเร่งไปในไตรมาสก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวต่อเนื่องตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดริมแม่น้ำโขง อาทิ นครพนม ช่วยกระตุ้นอัตราการเข้าพักให้เพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ ลดลง ตามราคาพลังงานและอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์
ตลาดแรงงาน ทรงตัว ตามจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ใกล้เคียงเดิม
แนวโน้มเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครึ่งหลัง ปี 2566
เศรษฐกิจอีสาน ยังมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่ารุนแรงมากขึ้นและความไม่แน่นอนของงบประมาณของภาครัฐ ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมล่าช้า ประกอบกับเศรษฐกิจฐานรากยังอ่อนแรงทำให้การบริโภคและการลงทุนหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 สิงหาคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th