ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(Northeastern GRP Forecast)

29 ก.พ. 2567

ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 66-67

ประมาณการรอบครึ่งปี ณ เดือนสิงหาคม 2566

เศรษฐกิจอีสานปี 66 หดตัวในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ ยกเว้นก่อสร้างคาดว่าทั้งปีอยู่ที่ -2.0 ถึง -1.0% และกลับมาขยายตัวเล็กน้อยในปี 67

ปี 66 หดตัว ในภาคเกษตรจากภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต และวัตถุดิบอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกหดตัวจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวทาให้กาลังซื้อในภาคการค้าลดลง อย่างไรก็ดี การก่อสร้างขยายตัวจากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับอุปสงค์ระยะต่อไป

 

ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกที่ ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจคู่ค้า และกาลังซื้อนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นส่งผลให้ภาคการค้าขยายตัวเล็กน้อย ประกอบกับการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องจากโครงการลงทุนภาครัฐและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคเกษตรยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

รายได้และค่าใช้จ่ายครัวเรือนภาคอีสาน

 

รายได้ครัวเรือนสุทธิหดตัว 2 ปีต่อเนื่อง

  • ปี 66 รายได้ครัวเรือนสุทธิหดตัว ในทุกสาขาเศรษฐกิจ ตามเศรษฐกิจอีสานที่หดตัว
  • ปี 67 รายได้ครัวเรือนสุทธิปรับดีขึ้นบ้าง จากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตร อาทิ ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการค้า และท่องเที่ยว ขณะที่รายได้ครัวเรือนเกษตรหดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบภัยแล้ง

รายละเอียดทิศทางการเติบโตของกิจกรรมสำคัญ

(เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)

 

เกษตร ลดลง

  • ปี 66 หดตัว จากวิกฤติภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตเกษตรสาคัญ อาทิ ข้าวนาปี อ้อยมันสาปะหลัง ยกเว้น ยางพาราที่ยังขยายตัวจากปริมาณน้าฝนที่เพียงพอในปีก่อนและพื้นที่กรีดยางที่เพิ่มขึ้น
  • ปี 67 หดตัวต่อเนื่อง จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากปลายปี66 อย่างไรก็ดีผลผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้นจากปัญหาโรคระบาดที่คลี่คลาย

 

อุตสาหกรรม ลดลง

  • ปี 66 หดตัว ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า ส่งผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกหดตัว โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งทอ ประกอบกับปัญหาภัยแล้งทาให้ปริมาณวัตถุดิบอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรลดลง
  • ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าส่งผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกปรับดีขึ้น แต่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งต่อเนื่อง

 

การค้า ลดลง

  • ปี 66 หดตัว จากรายได้ภาคเกษตรที่หดตัวตามผลกระทบของภัยแล้ง กอปรกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวของภาครัฐที่หมดลง และกาลังซื้อที่อ่อนแอทาให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
  • ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย ตามกาลังซื้อนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น ขณะที่กาลังซื้อภาคเกษตรยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

 

ก่อสร้าง ลดลง

  • ปี 66 หดตัว จากยอดขายที่เร่งไปในช่วงปี 64-65 ที่มีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์อาทิ การลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจานอง และการผ่อนคลายมาตรการ LTV
  • ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากความต้องการที่อยู่อาศัยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวตามการเติบโตของเมือง

 

อสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น

  • ปี 66 ขยายตัว จากโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับอุปสงค์ระยะต่อไป หลังจากที่มีการระบายสต็อกในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีกาลังซื้อสูงในเมืองหลัก
  • ปี 67 ขยายตัวต่อเนื่อง จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ อาทิ รถไฟทางคู่ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และวงแหวนรอบเมือง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน

หมายเหตุ :

  1) โครงสร้างเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 64 ประกอบด้วย เกษตร 20% อุตสาหกรรม 19% การค้า 13% ก่อสร้าง 4% อสังหาฯ 5% และอื่นๆ 39%
  2) กำหนดเผยแพร่ประมาณการผลิตภัณฑ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งต่อไป ในเดือนสิงหาคม 2567 (พร้อมประมาณการรายได้ครัวเรือนที่อยู่ระหว่างปรับปรุง)


ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานประกันสังคม, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, กรมการขนส่งทางบก, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กรมธุรกิจพลังงาน, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมท่าอากาศยาน, ท่าอากาศยานไทย, GFMIS, กรมการปกครอง, กรมที่ดิน, The Nielsen Company, ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คำนวณโดย ธปท.

ข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

0 7443 4890

FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th

ข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โทร .0 4391 3532

Neo-econ-div@bot.or.th