ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(Northeastern GRP Forecast)
29 ก.พ. 2567
ประมาณการรอบครึ่งปี ณ เดือนกรกฎาคม 2567
ปี 67 ทรงตัว โดยภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตอาหารขยายตัว เช่นเดียวกับภาคการค้าที่ขยายตัวจากการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงกำลังซื้อจากผู้เยี่ยมเยือนช่วงเทศกาลช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลผลิตเกษตรหดตัวจากภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในเขตชลประทาน ด้านภาคก่อสร้างหดตัวจากความล่าช้าของงบประมาณภาครัฐ และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวกว่าคาด
ปี 68 ขยายตัว จากสภาพภูมิอากาศที่เข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรขยายตัวในทุกพืชสำคัญ ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหมวดอาหารขยายตัว และภาคการค้าขยายตัวจากรายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้น อีกทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ทยอยปรับดีขึ้น ตามการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ และความต้องการที่อยู่อาศัย
รายได้จากการผลิตของครัวเรือนอีสาน ปี 67 หดตัว จากหมวดค่าจ้าง เงินเดือน และกำไรนอกภาคเกษตร เป็นสำคัญ ตามความสามารถในการหารายได้ของครัวเรือนที่ลดลง จากภาวะต้นทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง สถานการณ์การแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ทยอยหมดลง แต่ ปี 68 คาดว่ากลับมา จากกำไรภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามสภาพอากาศและต้นทุนปุ๋ยเคมีที่ปรับลดลง
(เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)
หมายเหตุ :
1) โครงสร้างเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 65 ประกอบด้วย เกษตร 21% อุตสาหกรรม 19% การค้า 12% ก่อสร้าง 4% อสังหาฯ 4% และอื่นๆ 40%
2) กำหนดเผยแพร่ประมาณการผลิตภัณฑ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งต่อไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานประกันสังคม, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, กรมการขนส่งทางบก, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กรมธุรกิจพลังงาน, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมท่าอากาศยาน, ท่าอากาศยานไทย, GFMIS, กรมการปกครอง, กรมที่ดิน, The Nielsen Company, ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คำนวณโดย ธปท.