ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

31 พฤษภาคม 2567

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนเมษายน 2567

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคอีสาน กลับมาขยายตัวจากเดือนก่อน
  • ในเดือนก่อน การอุปโภคบริโภคจากหมวดสินค้าในชีวิตประจำวันหดตัวหลังเร่งใช้จ่ายสูงในเดือนก่อน ประกอบกับรายได้เกษตรกรหดตัว และการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปหดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภาคบริการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง ตามการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีขนาดงานใหญ่และผู้ร่วมงานมากขึ้น
  • เดือนนี้ การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวทุกหมวดในช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลสงกรานต์ สอดคล้องกับภาคบริการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีขนาดงานใหญ่และผู้ร่วมงานมากขึ้น รายได้เกษตรกรที่ขยายตัว ช่วยพยุงการบริโภค 

ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้ว)
 

รายได้เกษตรกร กลับมาขยายตัว (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน)

ตามราคายางพาราที่ขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตที่ลดลงหลังได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ โดยเฉพาะในพื้นที่อีสานตอนกลาง อ้อยโรงงานขยายตัวจากราคาขั้นต้นที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตโดยรวมหดตัวต่อเนื่อง

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ทรงตัว

ตามการผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดน้ำตาลทรายขาวที่ขยายตัวตามคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้า ขณะที่หมวดสิ่งทอหดตัวหลังเร่งผลิตไปในเดือนก่อน 

 

ภาคบริการท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง

ทั้งผู้เยี่ยมเยือนคนไทยและต่างชาติ ตามการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัดทั่วภาคอีสาน โดยเฉพาะการจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์ที่มีขนาดงานใหญ่ ส่งผลให้อัตราการเข้าพักแรมเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารขาเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

 

การบริโภคภาคเอกชน กลับมาขยายตัว

ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคกึ่งคงทนที่กลับมาขยายตัวในช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลสงกรานต์ สินค้าคงทนกลับมาขยายตัว จากยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นในเมืองรอง และหมวดสินค้าบริการขยายตัวต่อเนื่อง ตามการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วภาคอีสาน

 

การลงทุนภาคเอกชน กลับมาขยายตัว

ตามการลงทุนด้านการก่อสร้างที่กลับมาขยายตัว ตามพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้าง และการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการนำเข้าสินค้าทุนสอดคล้องกับจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่เพิ่มขึ้น และยอดจดทะเบียนรถเชิงพาณิชย์ประเภทรถแทรกเตอร์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง 

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาขยายตัว

ตามการส่งออกที่ขยายตัว จากจีน ในสินค้าทุเรียนเป็นสำคัญ โดยได้รับอิทธิพลของฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตในภาคตะวันออก 

เช่นเดียวกับการนำเข้าที่ขยายตัว จากจีน ในหมวดเคมีภัณฑ์ และปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์

 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน) ตามราคาผักสดและผลไม้สด

 

ตลาดแรงงาน ทรงตัว สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่ทรงตัว ซึ่งเป็นผลตามแรงส่งด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้การจ้างงานภาคบริการและการค้าปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคก่อสร้างปรับลดลง 

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

- มาตรการและการใช้จ่ายของภาครัฐ

- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 พฤษภาคม 2567

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th

 

หมายเหตุ

สาขาเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ที่มีความสำคัญต่อภาคอีสาน ได้แก่ การอุปโภคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ และการค้าผ่านด่านศุลกากร ตามลำดับ