ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
25 มกราคม 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2565
การอุปโภคบริโภค หดตัวมากขึ้น
จากการใช้จ่ายหมวดสินค้าในชีวิตประจำวัน ตามความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น กระทบต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว
ตามการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ขยายตัวจากการผลิตเพื่อส่งออกตามเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัว และการลงทุนก่อสร้างขยายตัวจากการก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และบริการเป็นสำคัญ
การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัว
ทั้งรายจ่ายประจำของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และรายจ่ายลงทุนจากกรมทางหลวงชนบท รวมถึงหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
การค้าผ่านด่านศุลกากร
การส่งออก หดตัวน้อยลง ตามการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปจีนที่ปรับดีขึ้น ขณะที่ส่งออกผลไม้หดตัวต่อเนื่อง จากนโยบาย Zero-COVID ของจีน
การนำเข้า กลับมาขยายตัว ตามการนำเข้ามันสำปะหลังจาก สปป. ลาว และสินค้าวัตถุดิบ โดยเฉพาะผ้าถักจากเวียดนาม เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องแต่งกาย
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
ทั้งด้านผลผลิตจากอ้อยโรงงานเป็นสำคัญ ตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และด้านราคาจากราคาปศุสัตว์ โดยเฉพาะราคาสุกรและไก่ที่เพิ่มตามต้นทุนอาหารสัตว์ ส่วนราคายางพารา และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก
ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวชะลอลง
ตามการผลิต HDD ที่หดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังการผลิตสินค้าต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ลดลงจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการผลิตน้ำตาลทรายขาวที่เร่งตัวในช่วงก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น ตามราคาพลังงาน และอาหารเป็นสำคัญ
การจ้างงาน ทรงตัว ตามจำนวนผู้มีงานทำ แต่ยังคงเปราะบาง เนื่องจากอัตราการว่างงานยังคงสูงกว่าช่วงก่อน COVID-19
ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มีนาคม 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th