ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
25 มกราคม 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2565
การอุปโภคบริโภค หดตัว
การใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันหดตัวเล็กน้อย แต่การใช้จ่ายด้านท่องเที่ยว และสินค้ากึ่งคงทนยังคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้น อีกทั้ง ปัญหาการขาดแคลนชิปกลับมามีผลกระทบต่อการส่งมอบรถจักรยานยนต์
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวชะลอลง
ตามการลงทุนด้านก่อสร้างขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณยังขยายตัวต่อเนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุนของธุรกิจผลิตเพื่อส่งออกตามเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัว
การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัว
ตามรายจ่ายประจำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขณะที่รายจ่ายลงทุนเริ่มขยายตัวจากกรมทางหลวง และกรมชลประทาน
การค้าผ่านด่านศุลกากร
การส่งออก กลับมาหดตัวสูง ตามการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และผลไม้ไปจีนที่ลดลง จากผลกระทบนโยบาย Zero-COVID และมาตรการล็อกดาวน์ของจีน
การนำเข้า กลับมาหดตัว ตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์จากจีนที่ลดลง จากผลกระทบนโยบาย Zero-COVID และมาตรการล็อกดาวน์ของจีน
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
ตามผลผลิตที่ขยายตัวสูง จากผลผลิตอ้อยที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย และราคาที่ขยายตัวตามราคาปศุสัตว์จากต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น ราคามันสำปะหลังจากความต้องการของจีนที่มีต่อเนื่อง และราคาอ้อยจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาหดตัว
ตามการผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น การผลิต HDD ที่ปรับดีขึ้นหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มคลี่คลาย และการผลิตเยื่อกระดาษที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการจากต่างประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น ตามราคาพลังงาน และอาหารเป็นสำคัญ
การจ้างงาน ทรงตัว ตามสัดส่วนผู้ว่างงาน (ม. 38) และความเชื่อมั่นการจ้างงานที่ใกล้เคียงเดิม แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 สะท้อนตลาดแรงงานยังเปราะบาง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 เมษายน 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th