ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
25 มกราคม 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤษภาคม 2565
การอุปโภคบริโภค ขยายตัวต่อเนื่อง
ตามหมวดบริการ จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค รวมถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ และหมวดยานยนต์ที่สามารถส่งมอบรถได้มากขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ทรงตัว
ตามการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ขณะที่การลงทุนด้านก่อสร้างหดตัวจากฐานสูงปีก่อน ที่มีการก่อสร้างขนาดใหญ่ในพื้นที่
การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัว
จากรายจ่ายประจำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรมราชทัณฑ์ รวมถึงรายจ่ายลงทุนจากกรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน
การค้าผ่านด่านศุลกากร
การส่งออก หดตัวต่อเนื่อง ตามการส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และผลไม้ไปจีนที่ลดลงจากผลกระทบนโยบาย Zero-COVID และการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไปทางเรือมากขึ้น
การนำเข้า หดตัวต่อเนื่อง ตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์จากจีนที่ลดลง จากผลกระทบนโยบาย Zero-COVID และการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่ง
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
จากราคาสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ ตามราคาปศุสัตว์ จากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูง มันสำปะหลังจากความต้องการของจีนและยุโรป และข้าวเปลือกจากความต้องการของตลาดโลก สำหรับผลผลิตขยายตัว ตามข้าวนาปรัง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัว
ตามการผลิตน้ำตาลทรายขาวที่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตอ้อยและความต้องการในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สิ่งทอขยายตัวตามความต้องการในต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่กลับมาขยายตัวตามการบริโภคในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว
อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารเป็นสำคัญ
การจ้างงาน ปรับดีขึ้น ตามความเชื่อมั่นในการจ้างงาน และตำแหน่งงานเปิดรับใหม่ที่ดีขึ้น สอดคล้องกับจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ว่างงานในระบบ (ม.38) ที่ลดลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 มิถุนายน 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th