ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
25 มกราคม 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2565
การอุปโภคบริโภค หดตัวมากขึ้น
ตามการใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าคงทน และสินค้ากึ่งคงทนที่หดตัวตามกำลังซื้อที่ลดลงจากค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูงและรายได้หลังหักการชำระหนี้ที่ลดลงหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในการบริโภคทยอยปรับดีขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวต่อเนื่อง
ตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวมากขึ้น โดยการนำเข้าสินค้าทุน และการลงทุนเครื่องจักรภายในประเทศหดตัว สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวสูงขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐ กลับมาขยายตัว
ตามรายจ่ายลงทุนของกรมทางหลวงและกรมชลประทาน ขณะที่รายจ่ายประจำหดตัวจากหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ หมวดค่าตอบแทนของงบกลาง และหมวดค่าใช้สอยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การค้าผ่านด่านศุลกากร
การส่งออก ขยายตัวมากขึ้น ตามการส่งออกทุเรียนสด และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
การนำเข้า ทรงตัว ตามการนำเข้าโทรศัพท์มือถือจากจีนที่ขยายตัว ขณะที่การนำเข้าจากเวียดนามหดตัวตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
จากราคาเป็นสำคัญ ตามราคาข้าวเปลือก ปศุสัตว์ และมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตขยายตัว ตามผลผลิตของอ้อยที่เพิ่มขึ้น จากปริมาณฝนที่เพียงพอ และราคาจูงใจให้ขยายพื้นที่ปลูก
ภาคอุตสาหกรรม หดตัวน้อยลง
ตามการผลิตน้ำตาลที่ขยายตัวจากปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น สิ่งทอยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับดีขึ้นหลังจากจีนยกเลิกมาตรการ Zero-COVID แต่การผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เครื่องแต่งกายยังหดตัว ตามเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่มีแนวโน้มชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารสดที่ปรับสูงขึ้น
การจ้างงาน เพิ่มขึ้น ตามจำนวนผู้มีงานทำมาตรา 33 ที่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ว่างงานใหม่มาตรา 38 ที่ลดลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มกราคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th