ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
31 พฤษภาคม 2566
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมิถุนายน 2566
การอุปโภคบริโภค หดตัวมากขึ้น
โดยสินค้าอุปโภคบริโภคและกึ่งคงทนหดตัว จากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง สำหรับสินค้าคงทนยังคงหดตัวจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่สินค้าหมวดบริการขยายตัวเล็กน้อยตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวน้อยลง
จากการลงทุนด้านก่อสร้างที่ขยายตัว ทั้งพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างตามการเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ และยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวเล็กน้อย ตามการนำเข้าสินค้าทุนประเภทอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังหดตัวต่อเนื่อง เป็นผลของการเร่งลงทุนในปีก่อนหน้า
การค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัวชะลอลง
การส่งออก ชะลอลง ตามการส่งออกไปจีน ในหมวดคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนที่หดตัวหลังเร่งไปในเดือนก่อน แม้การส่งออกทุเรียนยังขยายตัวดี
ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง
การนำเข้า ชะลอลง ตามการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากจีนและเวียดนามที่หดตัวจากความต้องการนำเข้าเพื่อผลิตเป็นสินค้าส่งออกลดลง
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
จากผลผลิตเป็นสำคัญ ตามผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอในปีก่อนช่วยให้เจริญเติบโตได้ดีและพื้นที่กรีดยางที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาหดตัวจากราคายางพาราและปศุสัตว์เป็นสำคัญ
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัว
ตามการผลิตยางพาราแปรรูปที่ขยายตัว ตามผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้น การสีข้าวขยายตัวตามผลผลิตข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องแต่งกายที่ยังคงหดตัวตามความต้องการของประเทศคู่ค้า การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หดตัวหลังจากที่เร่งผลิตในเดือนก่อน แป้งมันสำปะหลังหดตัวจากผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในปีก่อน
การท่องเที่ยว ขยายตัวชะลอลง
ตามการประชุมและสัมมนาภาครัฐที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี การจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีอย่างต่อเนื่อง อาทิ นครพนมและเลย ช่วยกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยว รายรับจากนักท่องเที่ยว รวมถึงอัตราการเข้าพักให้เพิ่มขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ ลดลง ตามราคาพลังงานและอาหารสดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์และผักสด
ตลาดแรงงาน ลดลง ตามการจ้างงานที่ปรับลดลงจากกลุ่มอาชีพอิสระเป็นสำคัญ ขณะที่การจ้างในระบบปรับดีขึ้นสะท้อนจากมาตรา 33 ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
- แนวโน้มรายได้เกษตรกรกับการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
- ความเชื่อมั่นจากสถานการณ์การเมือง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 กรกฎาคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์ : 0 4391 3532
E-mail : Neo-econ-div@bot.or.th