ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเหนือ
(Northern GRP Forecast)
สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
02 ส.ค. 2567
ประมาณการ ณ เดือนสิงหาคม 2567
ปี 67 ขยายตัว ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น โดย การท่องเที่ยว ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัว ทั้งการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการค้า ขยายตัวชะลอลง ตามยอดขายหมวดยานยนต์ที่หดตัว ผลผลิตเกษตร หดตัวเล็กน้อย แต่หดตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนเป็นลานีญาในช่วงครึ่งหลังของปี ภาคก่อสร้าง ทรงตัว ความต้องการก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่งานภาครัฐลดลงแต่ทยอยดีขึ้นในครึ่งปีหลัง
ปี 68 ขยายตัว ตามผลผลิตเกษตร จากสภาพอากาศกลับสู่ภาวะปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวในหมวดอาหาร ตามวัตถุดิบเกษตรที่เพิ่มขึ้น และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์คู่ค้า ภาคท่องเที่ยว ขยายตัว ตามแนวโน้มนักท่องเที่ยวและการเปิดเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ภาคการค้า ขยายตัว ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและรายได้ที่ทยอยปรับดีขึ้น
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, F = ประมาณการ
1/ ข้อมูลจริงถึงปี 66 ประมาณการโดย ธปท. จากแถลงข่าวผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 1/2567
2/ ข้อมูลจริงถึงปี 64 ประมาณการเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยส่วนเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานภาคเหนือ ก.พ. 2567
ตัวเลขในวงเล็บ ( ) แสดงประมาณการรอบ ส.ค. 2566
ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำประมาณการจากข้อมูลเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์กับธุรกิจและประชาชน และจะมีการทบทวนปรับปรุงประมาณการและเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง
ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากหมวดค่าจ้างและเงินเดือน และกำไรนอกภาคเกษตรเป็นสำคัญ ตามทิศทางเศรษฐกิจภาคเหนือที่ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว ภาคบริการ และการผลิต ทำให้รายได้ในจังหวัดหลักโดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยวปรับดีขึ้น แต่กำไรภาคเกษตรยังขยายตัวได้ต่ำจากเอลนีโญในช่วงครึ่งแรกของปีแม้ราคาดี
ปี 68 ขยายตัวเล็กน้อย จากกำไรภาคเกษตรปรับดีขึ้นตามสภาพอากาศที่กลับสู่ปกติ ประกอบกับการท่องเที่ยว การผลิต และการค้า ยังอยู่ในทิศทางที่ปรับดีขึ้น
หมายเหตุ :
1) * รายได้จากการผลิตของครัวเรือน คือ รายได้ที่มาจากการทำงานหรือผลิตเอง (Factor Income) โดยคำนวณจากค่ากลาง (Median) ของรายได้ครัวเรือนต่อปีหารรากที่สองของจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ครอบคลุมรายได้จากค่าจ้างและเงินเดือน กำไรนอกภาคเกษตร กำไรภาคเกษตร และอื่น ๆ แต่ไม่รวมเงินโอน
2) ข้อมูลปี 2550-2566 ได้แปลงเป็นอัตราการเติบโตต่อปีแล้ว (Annualized)
3) ข้อสมมติการประมาณการรายได้ครัวเรือนในภาคเหนืออิงตามผลประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจรายสาขาของภาคเหนือ ด้วยสมมติฐานปัจจัยอื่นๆ คงที่
4) * สัดส่วนรายได้ของครัวเรือนจากแหล่งรายได้นั้น เทียบกับ รายได้จากการผลิตของครัวเรือนทั้งหมด
5) *** อื่น ๆ อาทิ รายได้จากการให้เช่า ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินปันผล ดอกเบี้ยแชร์และการให้กู้ยืมเงิน และรายได้จากค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
ที่มา : รายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดย ธปท.
(เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)
เกษตร ปี 67 หดตัวเล็กน้อย ปี 68 ขยายตัว
ปี 67 หดตัวเล็กน้อย จากผลกระทบของภาวะเอลนีโญในช่วงครึ่งแรกของปี ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงาน และข้าวนาปรังหดตัว แต่ภาพรวมทั้งปีผลผลิตหดตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากจากสภาพอากาศเปลี่ยนกลับเป็นลานีญากำลังอ่อนในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ผลผลิตพืชสำคัญ เช่น ข้าวนาปีและลำไย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ปี 68 ขยายตัว จากสภาพอากาศที่กลับสู่ปกติ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกเพียงพอ ทำให้ผลผลิตพืชสำคัญ อาทิ ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลังขยายตัว
อุตสาหกรรม ปี 67 และปี 68 ขยายตัว
ปี 67 ขยายตัว จากการผลิตหมวดอาหารแปรรูป ตามวัตถุดิบเกษตรที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และหมวดเครื่องดื่ม ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ทยอยกลับมา รวมถึงการผลิตหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวได้เล็กน้อย ในกลุ่มชิ้นส่วนสำหรับโทรศัพท์มือถือและยานยนต์ไฟฟ้า ตามอุปสงค์ที่ทยอยปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และโรงงานบางแห่งผลิตเพิ่มตามแผนลงทุนเดิม
ปี 68 ขยายตัว จากหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทยอยฟื้นตัวตามวัฏจักรทำให้คำสั่งซื้อกลับมา และหมวดอาหารแปรรูปขยายตัวต่อเนื่อง ตามวัตถุดิบเกษตรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังคงมีต่อเนื่อง รวมถึงหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยมีทิศทางปรับดีขึ้นบ้าง ตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
การค้า ปี 67 ขยายตัวชะลอลง ปี 68 ขยายตัว
ปี 67 ขยายตัวชะลอลง ตามยอดขายสินค้าในกลุ่มยานยนต์ที่หดตัว ผลจากสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังการให้สินเชื่อ ประกอบกับภาพรวมกำลังซื้อยังไม่เข้มแข็ง อย่างไรก็ดี ยอดขายสินค้าหมวดอุปโภคบริโภคและหมวดบริการขยายตัวได้ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง
ปี 68 ขยายตัว ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว รวมถึงการจ้างงานและรายได้เกษตรกรที่ยังคงมีทิศทางดี
ก่อสร้าง ปี 67 ทรงตัว ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย
ปี 67 ทรงตัว ภาพรวมอุปสงค์การก่อสร้างยังคงอยู่ในระดับต่ำ ตลาดที่อยู่อาศัยราคาระดับล่างยังไม่ดีนัก ส่วนที่ขยายตัวได้บ้างเป็นตลาดราคาระดับบนในจังหวัดหลักของภาค ขณะที่การก่อสร้างภาครัฐลดลง ตามความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณ แต่ทยอยปรับดีขึ้นบ้างในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็ก
ปี 68 ขยายตัวเล็กน้อย จากการก่อสร้างภาครัฐกลับเป็นปกติ ประกอบกับการก่อสร้างภาคเอกชนมีทิศทางทยอยฟื้นตัว โดยที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวสูง มีอุปสงค์ที่ปรับดีขึ้นทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ
โรงแรม ภัตตาคาร ปี 66 และปี 67 ขยายตัว
ปี 67 ขยายตัว ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมในภาคการท่องเที่ยวและบริการมีต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ประเมินไว้ และกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนโควิด-19 ประกอบกับความเชื่อมั่นและค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น รวมทั้งผลจากจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐ และมาตรการวีซ่าฟรี
ปี 68 ขยายตัว ใกล้เคียงระดับปกติก่อนโควิด-19 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น และการเปิดเพิ่มเที่ยวบินภายในและต่างประเทศมีต่อเนื่อง
หมายเหตุ :
1) โครงสร้างเศรษฐกิจภาคเหนือ ปี 65 ประกอบด้วย เกษตร 23% อุตสาหกรรม 16% การค้า 12% ก่อสร้าง 5% โรงแรมภัตตาคาร 2% และอื่นๆ 42%
2) สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมจากการท่องเที่ยว โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คิดเป็นร้อยละ 9.6 ต่อ GRP ภาคเหนือ
3) กำหนดเผยแพร่ประมาณการผลิตภัณฑ์ภาคเหนือครั้งต่อไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานประกันสังคม, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, กรมการขนส่งทางบก, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กรมธุรกิจพลังงาน, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมท่าอากาศยาน, ท่าอากาศยานไทย, GFMIS, กรมการปกครอง, กรมที่ดิน, The Nielsen Company, ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คำนวณโดย ธปท.