การติดตามภาวะเศรษฐกิจและการเงินอย่างเดียวไม่ได้ครอบคลุมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งหมด งานศึกษานี้จึงได้พัฒนาดัชนีความเป็นอยู่ของคนไทย (ดัชนีฯ) ในการติดตามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่ต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ด้านนโยบายเชิงพื้นที่ในอนาคต โดยจัดท าขึ้นตามกรอบแนวคิด และวิธีการค านวณของ OECD1 ที่น ามาปรับใช้กับบริบทของไทย ครอบคลุมความเป็นอยู่ใน 6 ด้าน ผ่าน 20 เครื่องชี้
ดัชนีความเป็นอยู่ของคนไทย ปี 2564-2565
ความเป็นอยู่ของคนใน 3 ภูมิภาคมีความโดดเด่นแตกต่างกัน โดยคนในภาคใต้อยู่ในสิ่งแวดล้อมดี ทำให้จังหวัดที่มีค่าดัชนีฯ สูงสุด Top 5 ของประเทศ อยู่ในภาคใต้ทั้งหมด ได้แก่ พังงา ระนอง นราธิวาส พัทลุง และชุมพร สำหรับด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ขณะที่คนในภาคอีสานอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยสูง โดยจังหวัดที่มีค่าดัชนีฯ สูงสุด Top 5 ของประเทศ อยู่ในภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ นครพนม บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ สุรินทร์ และสกลนคร และมีโครงสร้างพื้นฐานดีใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ สำหรับคนในภาคเหนือมีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายติด Top 5 ของประเทศ และด้านความปลอดภัยดีรองจากอีสาน ส่วนด้านสาธารณสุขของภาคเหนือและภาคอีสานไม่ดีเท่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ มีเพียงจังหวัดหลักของแต่ละภาคที่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยมากสุดเมื่อเทียบกับประชากร