ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้
(Southern GRP Forecast)
สำนักงานภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
03 ก.ย. 2567
ประมาณการรอบครึ่งปี ณ เดือนกันยายน 2567
ปี 67 ขยายตัวชะลอ โดยยังมีแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตเกษตรหดตัวในทุกพืชหลักจากสภาพอากาศร้อนแล้ง และโรคใบร่วงในยางพารา ซึ่งกระทบผลผลิตเกษตรมากกว่าคาด ด้านภาคก่อสร้างหดตัวจากการก่อสร้างภาคเอกชนโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยจากกำลังซื้อที่ชะลอ
ปี 68 ขยายตัวมากขึ้น จากผลผลิตเกษตรที่กลับมาขยายตัวจากสภาพอากาศที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง รวมถึงการผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ด้านกำลังซื้อในประเทศคาดว่าปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ภาคการค้าและการก่อสร้างขยายตัว
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, F = ประมาณการ
1/ ข้อมูลจริงถึงปี 66 ประมาณการโดย ธปท. จากแถลงข่าวผลการประชุม กนง. ครั้งที่ 3/2567 โดยไม่รวมผลของ Digital Wallet
2/ ข้อมูลจริงถึงปี 65 ประมาณการเศรษฐกิจภาคใต้ โดยส่วนเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานภาคใต้ ก.ย. 2567 โดยไม่รวมผลของ Digital Wallet
ตัวเลขในวงเล็บ ( ) แสดงประมาณการรอบ ก.พ. 2567
ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำประมาณการจากข้อมูลเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์กับธุรกิจและประชาชน และจะมีการทบทวนปรับปรุงประมาณการและเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง
(เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)
ปี 67-68 ขยายตัว ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะสัญชาติหลัก ได้แก่ มาเลเซีย ยุโรป รัสเซีย และอินเดีย ผลดีจากการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบิน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนทยอยฟื้นตัว ส่วนหนึ่งจากผลของนโยบายยกเว้นการตรวจลงตรา (ไม่ต้องขอวีซ่า)
ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง และอาหารทะเลแปรรูป เพิ่มขึ้น ผลจากคำสั่งซื้อคู่ค้าต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตยางพาราแปรรูปลดลง จากอุปสงค์จีนที่ฟื้นตัวช้า
ปี 68 ขยายตัวเล็กน้อย จากการผลิตยางพาราแปรรูป ตามคำสั่งซื้อคู่ค้าต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ส่วนหนึ่งผลจากปริมาณสินค้าคงคลังของจีนลดลง รวมถึงการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง และอาหารทะเลแปรรูป ยังคงขยายตัว
ปี 67 ทรงตัว โดยรายได้แรงงานภาคบริการยังขยายตัว และรายได้เกษตรกรบางส่วนปรับดีขึ้นจากด้านราคา ช่วยพยุงการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทน อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง กดดันให้การใช้จ่ายสินค้าคงทนหดตัวกว่าที่คาด
ปี 68 ขยายตัว ตามกำลังซื้อที่ทยอยฟื้นตัว จากรายได้ภาคบริการขยายตัวต่อเนื่อง และเม็ดเงินรายได้เกษตรกรที่กระจายมากขึ้น ช่วยสนับสนุนการบริโภค
ปี 67 หดตัว ตามการก่อสร้างภาคเอกชนที่น้อยกว่าประมาณการครั้งก่อน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย ตามกำลังซื้อที่ชะลอ ด้านการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวเล็กน้อย ตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 ได้มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
ปี 68 ขยายตัว จากทั้งการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามปกติ และการก่อสร้างภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น ตามกำลังซื้อที่ฟื้นตัว
ปี 67 ผลผลิตหดตัว จากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง และปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงในยางพารา ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ของยางพารา ทุเรียน และปาล์มน้ำมัน ลดลง
ปี 68 ผลผลิตขยายตัว จากสภาพอากาศที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และปัจจัยบวกจากการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน ทำให้ผลผลิตทุเรียน และยางพาราเพิ่มขึ้น
หมายเหตุ : โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 65 เกษตร (27%) การค้า (11%) อุตสาหกรรม (11%) ก่อสร้าง (4%) โรงแรม ภัตตาคาร (8%) และอื่น ๆ (39%)
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานประกันสังคม, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, กรมการขนส่งทางบก, กรมธุรกิจพลังงาน, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมท่าอากาศยาน, ท่าอากาศยานไทย, GFMIS, กรมการปกครอง, กรมที่ดิน, บจก. นีลเส็นไอคิว (ประเทศไทย), ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คำนวณโดย ธปท.
รายได้จากการผลิต1) ของครัวเรือนภาคใต้ ปี 67 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนจากค่าจ้างและเงินเดือน รวมถึงกำไรธุรกิจนอกภาคเกษตรลดลง อย่างไรก็ดี กำไรภาคเกษตรปรับดีขึ้นจากราคายางพาราที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณผลผลิตจะลดลง ปี 68 ปรับดีขึ้นเล็กน้อย สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าจ้างและเงินเดือน และกำไรนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรภาคเกษตรขยายตัวชะลอตามราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง
หมายเหตุ : 1) รายได้จากการผลิตของครัวเรือน คือ รายได้ที่มาจากการทำงานหรือผลิตเอง (Factor Income) โดยคำนวณจากค่ากลาง (Median) ของรายได้ครัวเรือนต่อปีหารรากที่สองของจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ครอบคลุมรายได้จากค่าจ้างและเงินเดือน กำไรนอกภาคเกษตร กำไรภาคเกษตร และอื่น ๆ โดยไม่รวมเงินโอน
2) ข้อมูลจริงปี 2550-2566 ได้แปลงเป็นอัตราการเติบโตต่อปี (Annualize) แล้ว
3) ข้อสมมติการประมาณการรายได้ครัวเรือนในภาคใต้อิงตามผลประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจรายสาขาของภาคใต้ ด้วยสมมติฐานปัจจัยอื่น ๆ คงที่
4) * อื่น ๆ อาทิ รายได้จากการให้เช่า ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินปันผล ดอกเบี้ยแชร์และการให้กู้ยืมเงิน และรายได้จากค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
ที่มา : รายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดย ธปท.