ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้
31 มกราคม 2566
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม 2565
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
รายได้เกษตรกร กลับมาหดตัว
จากด้านราคาที่หดตัวมากขึ้น โดยเฉพาะราคายางพาราตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง และปาล์มน้ำมันตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตชะลอลงจากผลของฝนตกชุกทำให้กรีดยางได้น้อยลง
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาหดตัว
ผลจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอลง ประกอบกับการเร่งส่งออกก่อนหยุดยาวช่วงตรุษจีน โดยเฉพาะยางพาราแปรรูปและอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง เช่นเดียวกับการผลิตไม้ยางพาราส่งออกไปตลาดมาเลเซียและเกาหลีใต้หดตัวเช่นกัน
การท่องเที่ยว ขยายตัวใกล้เคียงเดิม
โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาต่อเนื่องทั้งชาว มาเลเซีย รัสเซีย และยุโรป จากการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยที่ขยายตัวชะลอลง จากค่าห้องพักที่สูงขึ้น ประกอบกับบางส่วนเดินทางเที่ยวต่างประเทศ
การอุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลง
ตามการใช้จ่ายที่ชะลอลงเกือบทุกหมวด ทั้งสินค้ากึ่งคงทน ยานยนต์ และบริการ ผลจากค่าครองชีพสูง และรายได้เกษตรกรที่หดตัวจากด้านราคา ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย
การลงทุนภาคเอกชน กลับมาหดตัว
โดยการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในหมวดรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวมากขึ้น และการลงทุนก่อสร้างสะท้อนจากยอดขายปูนซิเมนต์ และพื้นที่ก่อสร้างที่ชะลอตัวลง
การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวต่อเนื่อง
จากทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้า ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาอาหารสดและพลังงานเป็นสำคัญ
ตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สอดคล้องกับจำนวน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ( ม.33 ) ที่เพิ่มขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มกราคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th