ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

31 มกราคม 2567

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ เดือนธันวาคม 2566 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน
  • ตามการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งจากรายได้เกษตรกรที่หดตัวจากผลผลิตเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ ส่งผลดีต่อการจ้างงาน
  • ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการผลิตอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลงตามอุปสงค์คู่ค้าและวัตถุดิบที่ปรับดีขึ้น

รายได้เกษตรกร ยังคงหดตัว

ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันหดตัว ผลกระทบจากปริมาณน้าฝนสะสมที่น้อยกว่าปีก่อน และผลผลิตยางพาราอยู่ในระดับต่ำ จากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ดี ด้านราคายังขยายตัวใกล้เคียงเดือนก่อนตามราคายางพารา จากผลผลิตที่ออกน้อยต่อเนื่อง และความต้องการซื้อที่เริ่มฟื้นตัว

 

ภาคอุตสาหกรรม หดตัวน้อยลง

ตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากปริมาณสต็อกที่ทยอยลดลง ทำให้การผลิตยางพาราแปรรูปหดตัวน้อยลง สำหรับการผลิตไม้ยางแปรรูปขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ถุงมือยางชะลอเล็กน้อยหลังเร่งไปในช่วงก่อน เช่นเดียวกับการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นฯ ชะลอจากกำลังซื้อจากญี่ปุ่นที่ลดลง ผลจากเงินเยนอ่อนค่า

 

การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมาเลเซียรวมถึงนักท่องเที่ยวจีนที่ทยอยเพิ่มขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียและยุโรปชะลอลงบ้าง หลังเร่งไปในเดือนก่อน ด้านนักท่องเที่ยวไทยใกล้เคียงเดือนก่อน

 

การอุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลง

ส่วนหนึ่งจากรายได้เกษตรกรที่ยังคงหดตัวและการระมัดระวังการใช้จ่าย สะท้อนจากการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ทรงตัว สำหรับการใช้จ่ายหมวดยานยนต์หดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถกระบะ และสินค้ากึ่งคงทนลดลง จากการชะลอการใช้จ่ายเพื่อรอมาตรการภาครัฐ อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวตามภาคการท่องเที่ยว

 

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว

ตามการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงแรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัว ตามมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและหมวดยานยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัว

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร ยังคงหดตัว

การส่งออก หดตัวน้อยลงจากการส่งออกยางผสมไปจีน รวมถึงคอมพิวเตอร์ไปมาเลเซียที่หดตัวน้อยลง ด้านไม้แปรรูปขยายตัวต่อเนื่อง การนำเข้า กลับมาหดตัวจากการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและมาตรวัด รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัว

 

อัตราเงินเฟ้อ ลดลง จากหมวดพลังงานตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศลดลง และอาหารสด ตามราคาเนื้อสัตว์ลดลง จากอุปทานที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว

 

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจ้างงานในสาขาบริการ สะท้อนจากจ้านวนผู้ประกันตน ม.33 ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว สอดคล้องกับจ้านวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ ม.40 ที่เพิ่มขึ้นและผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน ม.38 ที่ลดลง

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มกราคม 2566

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th