ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

31 มีนาคม 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ หดตัวจากเดือนก่อน
  • จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กระจายเป็นวงกว้าง และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาหดตัว
  • ภาคการท่องเที่ยวชะลอลง โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวไทย
  • ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวเล็กน้อยหลังมีการเร่งส่งออกไปในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะภาคการผลิต ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามผลผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกุ้งเป็นสำคัญ ด้านราคา ทุกสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ชะลอลงบ้าง 

 

ภาคอุตสาหกรรม กลับมาหดตัวเล็กน้อย

ตามการผลิตและส่งออกยางพาราแปรรูป ที่กลับมาหดตัวเล็กน้อย โดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐ และยุโรป ขณะที่การผลิตถุงมือยางกลับมา หดตัวตามอุปสงค์และการแข่งขันจากจีน ด้านการ ผลิตน้ำมันปาล์มดิบยังขยายตัว

 

การท่องเที่ยว ชะลอลง

โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติทรงตัว หลังกลับมาเปิดให้ ลงทะเบียน Test&Go อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นจำนวน นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากความขัดแย้ง รัสเซีย-ยูเครน ด้านนักท่องเที่ยวไทยชะลอลงจากฐานสูงปีก่อน ประกอบกับมีจำนวนผู้ติดเชื้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

 

การอุปโภคบริโภค กลับมาหดตัว

ตามการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดบริการและเชื้อเพลิง ปรับ ลดลง ขณะที่หมวดยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่อง

 

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ของภาคการผลิต ด้านการลงทุนก่อสร้างยังขยายตัวดี ต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ และ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่ขยายตัว

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาหดตัว

จากการส่งออกที่หดตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดี การนำเข้ายังขยายตัวได้แม้จะชะลอลง โดยเฉพาะสินค้าทุน

 

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารสด เป็นสำคัญ

 

ตลาดแรงงาน ดีขึ้นเล็กน้อย ตามจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (มาตรา 33) ที่ทยอยเพิ่มขึ้น แต่ยังมีความเปราะบาง

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มีนาคม 2565

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th

เอกสารประกอบการแถลงข่าวทั้งหมด