ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้
29 กุมภาพันธ์ 2567
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนมกราคม 2567
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
รายได้เกษตรกร กลับมาขยายตัว
ตามรายได้จากยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ขยายตัวจากด้านราคา เนื่องจากผลผลิตออกน้อย ผลกระทบจากฝนสะสมน้อยในปีก่อน ประกอบกับมีโรคระบาดใบร่วงในยางพารา
การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว
ตามกำลังซื้อคู่ค้าที่ลดลง โดยเฉพาะยางพาราแปรรูป และอาหารทะเลกระป๋อง ส่วนหนึ่งจากสกุลเงินท้องถิ่นอ่อนค่า สำหรับการผลิตไม้ยางแปรรูปไปตลาดจีนขยายตัวชะลอ
ภาคบริการท่องเที่ยว ขยายตัว
ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสัญชาติจีน ผลดีจากเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สัญชาติอื่น อาทิ รัสเซีย ยุโรป ยังขยายต่อเนื่อง ด้านนักท่องเที่ยวไทยลดลงเล็กน้อย หลังหมดเทศกาลวันหยุดยาว สำหรับแนวโน้มการท่องเที่ยวยังขยายตัว สะท้อนจากการค้นหาที่พักยังมีต่อเนื่อง
การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเล็กน้อย
ตามการจ้างงานและรายได้แรงงานในพื้นที่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับรายได้เกษตรกรปรับดีขึ้น รวมทั้งมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งผลให้การใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นในหมวดของใช้ส่วนตัวและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในสินค้าคงทนยังคงหดตัว
การลงทุนภาคเอกชน หดตัว
ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในภาคการผลิตอุตสาหกรรมและยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัว ด้านการลงทุนหมวดก่อสร้างชะลอลง ยกเว้นในพื้นที่ท่องเที่ยวที่ยังมีความต้องการของลูกค้าต่างชาติ
การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัว
การส่งออก หดตัวใกล้เคียงเดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อยางพาราแปรรูปที่ลดลงในตลาดจีน และเริ่มเห็นผลกระทบของเหตุการณ์ทะเลแดงที่ทำให้การขนส่งล่าช้าในบางสินค้า
การนำเข้า หดตัวจากอุปกรณ์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และวัตถุดิบปลาเพื่อการผลิตปลากระป๋องที่หดตัว
อัตราเงินเฟ้อ ลดลง จากหมวดอาหารสดเป็นสำคัญ
ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้น
ตามการจ้างงานในพื้นที่ท่องเที่ยว สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นการจ้างงานยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การจ้างงานในพื้นที่อื่นทรงตัว สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ม.40 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน ม.38 ใกล้เคียงเดือนก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 กุมภาพันธ์ 2567
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th