ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

31 กรกฎาคม 2567

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนมิถุนายน 2567

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ เดือนมิถุนายน 2567 ทรงตัวจากเดือนก่อน 
  • โดยการอุปโภคบริโภคได้รับผลดีบางส่วนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับดีขึ้น แต่กำลังซื้อโดยรวมของผู้บริโภคยังคงเปราะบางจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
  • สำหรับการท่องเที่ยวและการผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อย

รายได้เกษตรกร ขยายตัว

จากรายได้ยางพาราเพิ่มจากผลผลิตน้อยกว่าคาดช่วงครึ่งแรกของเดือน รายได้ปาล์มน้ำมันขยายตัวตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากภาวะผลปาล์มสุกแดด ทำให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ ขณะที่รายได้ทุเรียนและกุ้งหดตัวตามผลผลิตที่ลดลง ผลกระทบจากภาวะแล้งช่วงก่อนหน้า

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว

ตามอุปสงค์คู่ค้าลดลงโดยเฉพาะจีน ทำให้การผลิตไม้ยางแปรรูป ยางพาราแปรรูป รวมถึงอาหารทะเลแช่เย็นฯ ประเภทกุ้งหดตัวจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การผลิตน้ำมันปาล์มดิบขยายตัวตามวัตถุดิบและอัตราสกัดน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันอาหารทะเลกระป๋องขยายตัวจากอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก

 

ภาคบริการท่องเที่ยว หดตัวเล็กน้อย

ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซียและยุโรปที่ลดลงหลังเร่งไปมากในช่วงก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น ทั้งจีน รัสเซีย ออสเตรเลีย และอินเดีย ขยายตัวจากเดือนก่อน ด้านนักท่องเที่ยวไทยปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

 

การบริโภคภาคเอกชน ทรงตัว

ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวมาเลเซียและยุโรปที่ลดลงหลังเร่งไปมากในช่วงก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวสัญชาติอื่น ทั้งจีน รัสเซีย ออสเตรเลีย และอินเดีย ขยายตัวจากเดือนก่อน ด้านนักท่องเที่ยวไทยปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

 

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว

การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัว สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรและอะไหล่ ด้านการลงทุนก่อสร้างทรงตัว โดยการลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยยังชะลอ ขณะที่พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างปรับดีขึ้นบ้าง จากพื้นที่ที่มิใช่ที่อยู่อาศัย

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัว

การส่งออกขยายตัว จากด้านราคา โดยเฉพาะยางผสม และอาหารสัตว์เลี้ยง รวมถึงความต้องการถุงมือยางและคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ส่วนน้ำมันปาล์มดิบขยายตัวตามผลผลิตเป็นหลัก 

การนำเข้าขยายตัว จากสินค้าขั้นกลางประเภทคอมพิวเตอร์ และวงจรไฟฟ้า รวมถึงสินค้าทุนประเภทมาตรวัด

 

อัตราเงินเฟ้อ ลดลง ตามราคาอาหารสด เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย 

 

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่เพิ่มขึ้น อานิสงส์ของการจ้างงานภาครัฐหลัง พ.ร.บ. งบประมาณได้รับการอนุมัติ และการจ้างงานในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักที่ยังเพิ่มต่อเนื่อง ประกอบกับการจ้างงานภาคผลิตบางอุตสาหกรรมปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และธุรกิจส่วนใหญ่ยังเน้นการจ้างงานแบบรายวัน

 

ประเด็นที่ต้องติดตาม

  • การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
  • ผลกระทบของสภาพอากาศต่อผลผลิตเกษตร
  • ผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อการส่งออกและเงินเฟ้อ

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 กรกฎาคม 2567

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th