ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

29 เมษายน 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนมีนาคม 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน
  • ตามภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นจากนักท่องเที่ยวไทยเป็นสำคัญ และภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวเล็กน้อย ตามไม้ยางพาราแปรรูป และอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง
  • สอดคล้องกับการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ยังขยายตัวดี แม้การลงทุนภาพรวมชะลอลงบ้าง
  • อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนหดตัวมากขึ้น

รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามราคาปาล์มที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ จากนโยบายควบคุมการส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย และผลผลิตพืชน้ำมันทดแทนที่ตึงตัวจากวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตขยายตัวชะลอลง จากปาล์มและกุ้ง

 

ภาคอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัวเล็กน้อย

ตามการผลิตและส่งออกไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง และถุงมือยางที่กลับมาขยายตัว ขณะที่การผลิตยางพาราแปรรูปหดตัวมากขึ้น ผลจากฐานสูงปีก่อน และนโยบาย Zero-COVID ของจีน

 

การท่องเที่ยว ปรับดีขึ้น

โดยนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจาก โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ด้านนักท่องเที่ยว ต่างชาติชะลอลงเล็กน้อยจากกลุ่มนักท่องเที่ยวรัสเซียหลังเริ่มหมดฤดูกาลท่องเที่ยวของรัสเซีย ขณะที่นักท่องเที่ยวยุโรปยังเดินทางเข้ามาต่อเนื่อง

 

การอุปโภคบริโภค หดตัวมากขึ้น

ส่วนหนึ่งจากฐานสูงจากช่วงเดียวกันปีก่อนในหมวดบริการ อย่างไรก็ดี ระดับการใช้จ่ายหมวดบริการยังอยู่ในเกณฑ์ดี เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ฟื้นตัวได้บ้าง แต่ยังมีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลง

ตามการลงทุนก่อสร้างเป็นสำคัญ สะท้อนจากยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง และปูนซีเมนต์ที่ชะลอลง ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตยังขยายตัวสูง

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวน้อยลง

ตามการส่งออกที่หดตัวน้อยลง อย่างไรก็ตาม การนำเข้าชะลอลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าทุน

 

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารเป็นสำคัญ

 

ตลาดแรงงาน ทรงตัว ตามจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (ม.33) ที่ใกล้เคียงเดิม

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 เมษายน 2565

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th

เอกสารประกอบการแถลงข่าวทั้งหมด