ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

06 พฤษภาคม 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 2565 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน  
  • โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นจากทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้านการบริโภค ภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากหมวดบริการและยานยนต์
  • ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคฟื้นตัวได้บ้าง แต่ยังถูกกดดันจากค่าครองชีพ ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง
  • อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงบ้าง

รายได้เกษตรกร ขยายตัวมากขึ้น

จากด้านผลผลิตที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ราคากลับมาขยายตัว โดยเฉพาะยางพาราและกุ้งที่มีความต้องการต่อเนื่อง ส่วนปาล์มน้ำมันได้ผลดีจากนโยบายควบคุมการส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย

 

ภาคอุตสาหกรรม ชะลอลง

ตามการผลิตยางพาราแปรรูปเป็นสำคัญ จากฐานสูงปีก่อนและผลของนโยบาย Zero-COVID ของจีน อย่างไรก็ดี การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งปรับดีขึ้นตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

 

การท่องเที่ยว ขยายตัว

โดยนักท่องเที่ยวไทยปรับดีขึ้นจากผลของโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรปและรัสเซีย

 

การอุปโภคบริโภค หดตัวน้อยลง

ตามการกลับมาขยายตัวของยานยนต์ จากปัญหาขาดรถส่งมอบทยอยคลี่คลาย และหมวดบริการที่ความต้องการท่องเที่ยวมีมากขึ้น ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคฟื้นตัวได้บ้างแต่ยังถูกกดดันด้านค่าครองชีพ

 

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง และการลงทุนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ปรับดีขึ้น

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาหดตัว

ตามการส่งออกที่กลับมาหดตัว จากยางพาราแปรรูปที่ชะลอลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางหดตัวต่อเนื่อง

 

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารเป็นสำคัญ

 

ตลาดแรงงาน มีทิศทางดีขึ้น ตามจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (ม.33) ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีความเปราะบาง

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
6 พฤษภาคม 2565

 

รับชมการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th