ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้
02 พฤศจิกายน 2566
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
รายได้เกษตรกร ปรับดีขึ้น
จากด้านราคา ที่ปรับดีขึ้นทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยราคายางพาราปรับดีขึ้นตามผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากฝนตกชุกช่วงปลายไตรมาส ขณะที่ราคาปาล์มน้ำมันปรับดีขึ้น ส่วนหนึ่งผลจากฐานสูงปีก่อนหมดไป รวมถึงปริมาณฝนสะสมน้อยทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับด้านผลผลิตยังขยายตัวได้จากทุเรียนเป็นสำคัญ จากสภาพอากาศเอื้ออำนวยกว่าปีก่อน ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม หดตัวต่อเนื่อง
ตามการผลิตยางพาราแปรรูปประเภทยางแท่งและยางผสมไปตลาดจีนและสหรัฐฯ และการผลิตอาหารทะเลแปรรูปหดตัว ทั้งอาหารทะเลแช่เย็นฯ ไปตลาดจีนและญี่ปุ่น และอาหารทะเลกระป๋องไปตลาดมาเลเซีย อย่างไรก็ดี การผลิตน้ำมันปาล์มดิบหดตัวน้อยลง ตามอัตราการให้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตไม้ยางพาราและถุงมือยางขยายตัว
การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง
ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและไทยที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในหลายสัญชาติหลัก ทั้งมาเลเซีย รัสเซีย และยุโรป เช่นเดียวกับจีนที่เพิ่มขึ้น แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับก่อนโควิด สำหรับนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นจากปัจจัยพิเศษวันหยุดยาวที่มีต่อเนื่อง และการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่
การอุปโภคบริโภค ขยายตัวต่อเนื่อง
จากการใช้จ่ายหมวดบริการ อานิสงส์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจช่วงวันหยุดยาวต้นไตรมาส เช่นเดียวกับการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันและสินค้ากึ่งคงทนที่เพิ่มขึ้น ตามกำลังซื้อภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่หดตัวน้อยลง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดยานยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
การลงทุนภาคเอกชน ปรับดีขึ้น
ตามการลงทุนก่อสร้าง สะท้อนจากพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างประเภทบริการและที่อยู่อาศัยที่ขยายตัว ด้านการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้น จากการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เช่นเดียวกับยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ จากรถรับจ้างโดยสาร โดยเฉพาะใน จ.ภูเก็ต
การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวน้อยลง
การส่งออกหดตัวน้อยลง ตามการส่งออกไม้ยางพาราที่กลับมาขยายตัว ขณะที่ยางพาราแปรรูปยังคงหดตัว ตามอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอ ด้านการนำเข้าหดตัวต่อเนื่อง ตามการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและวัตถุดิบขั้นกลางที่กลับมาหดตัว ขณะที่สินค้าทุนหมวดเครื่องจักรชะลอตัว
อัตราเงินเฟ้อ ลดลง จากหมวดอาหารสดเป็นสำคัญ ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
ตลาดแรงงาน ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว ตามการฟื้นตัวของภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต และสมุย สอดคล้องกับจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ประโยชน์ว่างงาน (ม.38) ที่ลดลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
2 พฤศจิกายน 2566
รับชมการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th