ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

30 เมษายน 2568

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ เดือนมีนาคม 2568

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ เดือนมีนาคม 2568 หดตัวจากเดือนก่อน
  • จากแรงส่งรายได้เกษตรกรและภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอลง โดยนักท่องเที่ยวลดลงจากชาวมาเลเซียเนื่องจากเป็นช่วงถือศีลอดและชาวจีนที่กังวลด้านความปลอดภัย
  • ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่อง ตามความต้องการอาหารทะเลจากคู่ค้าเช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัว ตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์

รายได้เกษตรกร กลับมาหดตัว

จากราคายางพาราที่หดตัว และราคาปาล์มน้ำมันชะลอ ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม ผลผลิตกุ้งลดลง ตามการลงลูกกุ้ง เนื่องจากต้องพักบ่อเลี้ยง ผลกระทบของมรสุมปลายปี 67

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว

ตามความต้องการคู่ค้าที่ลดลงในอาหารทะเลทั้งแช่เย็นแช่แข็งฯ กระป๋อง และไม้ยาง แปรรูป ขณะที่การผลิตน้ำมันปาล์มดิบปรับดีขึ้นตามวัตถุดิบ ส่วนการผลิตยางแปรรูปไปตลาดจีนขยายตัวต่อเนื่อง ตามยอดขายรถยนต์ในจีนที่เพิ่มขึ้น

 

ภาคบริการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง

จากนักท่องเที่ยวมาเลเซียซึ่งตรงกับช่วงถือศีลอด และนักท่องเที่ยวจีนจากความกังวลด้านความปลอดภัยและการเปลี่ยนจุดหมายไปประเทศอื่น ขณะที่นักท่องเที่ยวอินเดียขยายตัวตามเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ด้านนักท่องเที่ยวไทยทรงตัว สำหรับรายได้รวมนักท่องเที่ยวทรงตัว

 

การบริโภคภาคเอกชน หดตัว

ตามสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว ตามแรงส่งรายได้เกษตรกรที่ชะลอลง รวมถึงหมดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สำหรับสินค้าหมวดยานยนต์ยังคงหดตัว จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

 

การลงทุนภาคเอกชน หดตัว

ตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจดทะเบียนยานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลง สำหรับการขออนุญาตก่อสร้างลดลงทั้งประเภทที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่อยู่อาศัย

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัว

มูลค่าการส่งออก หดตัว จากการส่งออกไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ รวมถึงอาหารทะเล แช่เย็นฯ และกระป๋อง 

มูลค่าการนำเข้า หดตัว ตามการนำเข้าวัตถุดิบปลาสำหรับผลิตปลากระป๋องและปลาสำหรับบริโภค รวมถึงการนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชะลอ

 

อัตราเงินเฟ้อ ลดลง จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง

 

ตลาดแรงงาน ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน 

สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่เพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานภาคการท่องเที่ยว สอดคล้องกับจำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงาน (ม.38) ที่ปรับลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ความต้องการแรงงานยังมีต่อเนื่อง สะท้อนจากตำแหน่งงานเปิดรับใหม่ที่เพิ่มขึ้น

 

ประเด็นที่ต้องติดตาม

• ความกังวลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีน

• ผลกระทบจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศของคู่ค้า

• การจ้างงานในพื้นที่ที่ไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยว

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 เมษายน 2568

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th