ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้

ข่าว ธปท. สภต. ฉบับที่ 7/2568 | 06 พฤษภาคม 2568

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2568

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 2568 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน 
  • ตามการบริโภคที่ทรงตัว โดยมีแรงส่งจากรายได้ภาคเกษตรและท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐสนับสนุนการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคช่วงต้นไตรมาส และชะลอลงช่วงปลายไตรมาสจากรายได้ท่องเที่ยวซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดและนักท่องเที่ยวจีนกังวลด้านความปลอดภัย ขณะที่หมวดยานยนต์ยังคงหดตัว
  • สำหรับการลงทุนภาคเอกชนหดตัวตามภาคอสังหาริมทรัพย์ ด้านการผลิตหดตัวจากปัญหาวัตถุดิบ และความต้องการของคู่ค้าที่ลดลง

รายได้เกษตรกร ขยายตัวชะลอ

จากราคายางพาราที่ชะลอ ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี รายได้ปาล์มน้ำมันกลับมาขยายตัวจากราคา ส่วนหนึ่งจากการเร่งซื้อในเดือน ก.พ. ตามความกังวลการขาดแคลนผลผลิต ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันปรับดีขึ้นบ้าง แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำ ผลดีของน้ำฝนช่วงปลายปี

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว

จากปัญหาผลผลิต ทำให้การผลิตน้ำมันปาล์มดิบลดลง ขณะที่การผลิตไม้ยางแปรรูปและอาหารทะเลแช่เย็นฯ หดตัว ด้านการผลิตยางแปรรูปขยายตัวตามคำสั่งซื้อจากจีนเพื่อเติมสต๊อกและผลดีจากมาตรการอุดหนุนการซื้อรถยนต์ใหม่ แม้คำสั่งซื้อยาง EUDR จากยุโรปชะลอลงไปบ้างในช่วงต้นไตรมาส

 

ภาคบริการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

จากนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะช่วงต้นไตรมาสที่ตรงกับเทศกาลตรุษจีนและวันปิดภาคเรียน และลดลงชัดเจนในเดือน มี.ค. เนื่องจากเข้าสู่ช่วงถือศีลอด ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนลดลงต่อเนื่อง ด้านนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้รวมจากนักท่องเที่ยวขยายตัว

 

การบริโภคภาคเอกชน ทรงตัว

โดยมีรายได้ภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการภาครัฐช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงต้นไตรมาส แต่แรงส่งชะลอลงในช่วงปลายไตรมาส สำหรับการใช้จ่ายสินค้าหมวดยานยนต์ยังคงหดตัว ตามกำลังซื้อที่ยังเปราะบาง

 

การลงทุน

การลงทุนภาคเอกชน หดตัว ตามการลงทุนก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง ขณะที่ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น

การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวมากขึ้น ในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ตามการเบิกจ่ายจาก พ.ร.บ. งบประมาณปี 68 และเม็ดเงินเหลื่อมปีจากปี 67

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร 

มูลค่าการส่งออก หดตัว ตามการส่งออกอาหารทะเลแช่เย็นฯ อาหารทะเลกระป๋อง ไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำมันปาล์มดิบที่ลดลงตามผลผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ

มูลค่าการนำเข้า ขยายตัว ตามการนำเข้าสินค้าขั้นกลางประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าและ IC รวมถึงสินค้าทุนที่ปรับดีขึ้น 

 

อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภทดีเซลและเบนซิน ราคาอาหารสำเร็จรูป และอาหารสด

 

ตลาดแรงงาน ดีขึ้น

สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่เพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานในพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก ขณะที่การจ้างงานในพื้นที่อื่นทรงตัว สำหรับรายได้แรงงานนอกภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนในทุกสาขาเศรษฐกิจ ยกเว้นภาคการผลิต

 

แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2/2568

คาดว่า “หดตัวจากไตรมาสก่อน” โดยการบริโภคชะลอตามแรงส่งรายได้ภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวที่แผ่วลง ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ คาดว่าจะทำให้การผลิตและส่งออกชะลอลง

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย

6 พฤษภาคม 2568

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
โทรศัพท์ : 0 7443 4890 
E-mail : FinancialEconomic1-SRO@bot.or.th