การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : Money Bingo

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1.  เพื่อให้ผู้เรียนได้ลองฝึกบันทึกรายรับ-รายจ่าย

2.  เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การตั้งเป้าหมาย และการวางแผนทางการเงิน

3.  เพื่อให้ผู้เรียนฝึกรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นผ่านการจำลองสถานการณ์

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

 

สมรรถนะหลัก

FB11. ดูแลและติดตามการใช้จ่าย (ป. ปลาย)

FK58. รู้วิธีป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงด้วยการออมเงินเผื่อฉุกเฉิน (ม. ต้น)

FA16. ยอมรับว่าแต่ละคนมีนิสัยการใช้จ่าย การออม และการบริจาคที่แตกต่างกัน (ม. ต้น)

FA17. มีความมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล แม้ว่าจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม (ม. ต้น)

FB20. แยกความจำเป็นและความต้องการ และจัดลำดับความสำคัญได้ (ม. ต้น)

FK96. รู้วิธีวางแผนการเงินเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต (ม. ปลาย)
FK97. เข้าใจความสำคัญของการจัดลำดับรายจ่ายเมื่อมีรายได้จำกัด (ม. ปลาย)

FA26. มีทัศนติที่ดีในการเผชิญกับสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่เป็นตามที่คาดหวัง (ม. ปลาย)

FK171. เข้าใจวัตถุประสงค์พื้นฐานของประกันภัย เข้าใจว่าทำไมจึงต้องซื้อประกันภัย (มหาวิทยาลัย)

 

สมรรถนะเสริม

FB12. ตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดี (SMART) (ป. ปลาย)

FK53. เข้าใจว่าการออมมีความจำเป็นเมื่อจะซื้อสินค้าที่มีราคาสูง (ม. ต้น)

FK59. รู้วิธีคำนวณระยะเวลาในการออมเงินเผื่อฉุกเฉิน 3 - 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นต่อเดือน (ม. ต้น)

FK72. รู้ความสำคัญของการมีความรู้ทางการเงินที่จะช่วยให้มีความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดี (ม. ต้น)

FB21. จัดสรรเงินและติดตามสถานะการเงินของตนเอง เพื่อไม่ให้ใช้เงินเกินที่จัดสรรไว้ (ม. ต้น)

FB22. ทบทวนเป้าหมายทางการเงินและปรับแผนหากจำเป็น (ม. ต้น)

FA24. ยอมรับว่าการจัดสรรเงินก่อนใช้เป็นสิ่งที่ควรทำ (ม. ปลาย)

FA25. มีความสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องเงินในชีวิตประจำวันมากขึ้น (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

สังคมศึกษา

ส 3.1 ป.1/1 ระบุสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ส 3.1 ป.1/2 ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ของการออม

สังคมศึกษา

ส 3.1 ป.2/3 บันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง

ส 3.1 ป.2/4 สรุปผลดีของการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และการออม

สังคมศึกษา

ส 3.1 ป.3/1 จำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการดำรงชีวิต

ส 3.1 ป.3/2  วิเคราะห์การใช้จ่าย
ของตนเอง

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้วยการตั้งคำถาม 2 ข้อ เพื่อชวนคิดเรื่องการเงินของตนเอง ได้แก่

  •   คิดว่า พฤติกรรมทางการเงินของตนเองในปัจจุบันเป็นอย่างไร ? (รายรับ>รายจ่าย / รายจ่าย>รายรับ / รายรับ=รายจ่าย)
  •   ในแต่ละเดือนใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง ? โดยระดมคำตอบจากผู้เรียน

2.  ผู้สอนแจกใบงานกิจกรรม Money Bingo และอธิบายกติกาว่า เมื่อผู้สอนสุ่มหมายเลขใดขึ้นมา จะปรากฏรายการรายรับหรือรายจ่ายซ่อนอยู่ ผู้เรียนต้องบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกรายการ ไม่ว่าในใบงานของผู้เรียนจะมีตัวเลขนั้นหรือไม่ก็ตาม

3.  หากผู้เรียน Bingo แล้ว จะบันทึกเฉพาะรายจ่ายที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบนั้น และไม่ต้องบันทึกรายจ่ายรอบต่อ ๆ ไป แต่เมื่อจบเกมจะยังได้รายรับจากโบนัสอยู่ โดยให้บันทึกรายรับต่อไป

4.  ผู้สอนสุ่มถามผู้เรียนระหว่างทำกิจกรรม เพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนเป็นระยะ

5.  ผู้สอนสอดแทรกเนื้อหาเรื่องขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน และเคล็ดลับในการออมเงินให้สำเร็จ

6.  ผู้สอนชวนผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม

7.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  •   ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  •   ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  •   สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน