Shop เก่ง ระวัง Shock

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : Shop เก่ง ระวัง Shock

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูเบญญา อนันตประเสริฐ / โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - สังคมศึกษา (สาระเศรษฐศาสตร์)

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1.  อธิบายความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงได้

2.  อธิบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้

3.  เสนอแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK44. รู้ว่าต้องประเมินความสามารถในการจ่ายเงิน หรือกำลังทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อสินค้า ไม่ด่วนตัดสินใจทันทีทันใด (ม. ต้น)

FK49. รู้ว่าสินค้าหรือบริการแบบเดียวกันอาจมีราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง (ม. ต้น)

FK52. รู้ว่าอายุ นิสัย ความชอบ หรือกิจกรรมในครอบครัว มีผลต่อรายรับ-รายจ่าย (ม. ต้น)

FA14. ยอมรับว่าทางเลือกอาชีพและรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนตัวส่งผลกระทบทางการเงิน รวมไปถึงทางเลือกในอนาคต (ม. ต้น)

FA15. ยอมรับว่าการพนันและการเสี่ยงโชคไม่ใช่ช่องทางในการหารายได้หรือสร้างความมั่งคั่ง (ม. ต้น)

FA16. ยอมรับว่าแต่ละคนมีนิสัยการใช้จ่าย การออม และการบริจาคที่แตกต่างกัน (ม. ต้น)

FA17. มีความมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล แม้ว่าจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม (ม. ต้น)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี : 

 

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

สังคมศึกษา

 

 

-

 

 

ส 3.1 ม.1/3 อธิบายความเป็นมา หลักการ และความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.  นักเรียนดูคลิปวีดิโอ เรื่อง “เหตุผลที่เรามีเงินออม สร้างแรงบันดาลใจในการออมเงิน” (4.52 นาที)

คลิปวีดิโอ เรื่อง “เหตุผลที่เรามีเงินออม สร้างแรงบันดาลใจในการออมเงิน”

 

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=v0j4roog-pM

 

2.  ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน ดังนี้

“เราออมเงินไปทำไมกัน ลองคิดดูว่าถ้าเกิดเราป่วยขึ้นมา แล้วต้องใช้เงินรักษา ถ้าเราไม่ได้ทำประกันไว้ เราก็ต้องเอาเงินออมนี้แหละไปรักษาตัวเราเอง หรือว่าถ้าเราเกิดโดนไล่ออกจากงานกระหันทันหรือเศรษฐกิจไม่ดีทำให้ยอดขายเราตก เราจะเอาเงินที่ไหนใช้ล่ะ นอกจากเรื่องความเจ็บป่วย ก็ยังมีอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด หรือบางทีก็มีเรื่องที่ทำให้ต้องใช้เงินโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวด้วยเหมือนกัน”

 

ขั้นที่ 2 ขั้นสอน

3.  นักเรียนและครูร่วมกันทำกิจกรรม “Shop เก่ง ระวัง Shock” โดยมีกติกาดังนี้

    3.1  นักเรียนจับคู่กับเพื่อน 2 คน

    3.2  หาตัวแทนสำหรับจดรายรับรายจ่าย (ตัวแทนออกมาเอาในบันทึกรายรับรายจ่าย เขียนชื่อ ชั้น เลขที่ให้เรียบร้อย)

    3.3  ทุกกลุ่มจะได้รับรายรับจำนวน 30,000 บาท

    3.4  มีสินค้าให้นักเรียนเลือกซื้อมากมาย ซื้อสินค้าแล้วจดลงบันทึกรายรับรายจ่าย (สินค้าบางชิ้นอาจมีผลกระทบตามมาหลังจากซื้อ)

    3.5  มีเหตุการณ์สุ่มเกิดขึ้น

4.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงข้อดีของการวางแผนการเงิน

 

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป

5.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

“การวางแผนทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าเราจะมีรายได้มากหรือน้อย การวางแผนทางการเงินที่ดี จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงิน และสร้างความมั่นคงในชีวิตได้”

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  การสังเกตพฤติกรรมการอภิปรายของผู้เรียน

2.  การตรวจใบกิจกรรม “Shop เก่ง ระวัง Shock”