โฮมรูม เด็กดีมีเงินออม

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : โฮมรูม เด็กดีมีเงินออม

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูสุพัตรา สายไพศรี

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม / ชมรม / ค่าย / ชั่วโมงแนะแนว) ได้แก่ จัดกิจกรรมในคาบโฮมรูมนักเรียนที่ปรึกษา     

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการรู้จักออมเงินและการวางแผนทางการเงินอย่างถูกต้องและมีความปลอดภัยทางการเงิน นักเรียนรู้จักการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ส่วนบุคคล รู้จักการออมเงินด้วยวิธีต่างๆตามที่ตนเองถนัดและสนใจ และปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการออม

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK51. รู้วิธีการตั้งเป้าหมายทางการเงินระยะยาวและการจัดสรรเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น (ม. ต้น)

FK52. รู้ว่าอายุนิสัย ความชอบ หรือกิจกรรมในครอบครัว มีผลต่อรายรับ-รายจ่าย (ม. ต้น)

FK53. เข้าใจว่าการออมมีความจำเป็นเมื่อจะซื้อสินค้าที่มีราคาสูง (ม. ต้น)

FK54. เข้าใจประโยชน์ของการเริ่มออมให้เร็วที่สุดและออมอย่างสม่ำเสมอ (ม. ต้น)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

-

 

 

-

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ชั่วโมงที่ 1-2

ขั้นนำ

1.  ครูทักทายนักเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนที่ดีและแจ้งจุดประสงค์ในการเรียนให้นักเรียนทราบ

2.  นักเรียนดูภาพของใช้ในชีวิตประจำวันและให้นักเรียนช่วยกันบอกว่า สิ่งใดเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรใช้ในชีวิตประจำวันและสิ่งใดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และบอกข้อดีของการใช้จ่ายอย่างประหยัดส่งผลดีอย่างไร (นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย)

3.  นักเรียนและครูสนทนาเรื่องการรู้จักเลือกซื้อของ รวมถึงการเปรียบเทียบสินค้าและราคา การเลือกใช้สิ่งของที่เหมาะสม และการรู้จักการออมเงิน

 

ขั้นสอน

4.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเรื่องการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันและการรู้จักการออมเงิน โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องวิธีการออมเงินของแต่ละบุคคลให้เพื่อนและครูฟัง

5.  ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอวิธีการออมเงินของตนเองให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน

6.  จากนั้นครูชวนนักเรียนสนทนาเพิ่มเติมถึงความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการออมเงิน รวมถึงแนะนำให้นักเรียนรู้จักการออมเงินอย่างถูกวิธีและการรู้จักคุณค่าของการออมเงิน

 

ขั้นสรุป

7.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้และความสำคัญของการออมเงิน จากนั้นครูมอบหมายให้นักเรียนทำใบงาน “เด็กดีมีเงินออม” พร้อมนำเสนอวิธีการออมเงินของตนเองและผลที่ได้จากการออมเงินในคาบถัดไป

 

ชั่วโมงที่ 3-4

ขั้นนำ

1.  นักเรียนและครูทบทวนกิจกรรมที่ทำไปในคาบเรียนชั่วโมงที่ 1-2  โดยร่วมพูดคุยกันถึงเรื่องการรู้จักเลือกซื้อสิ่งของและการรู้จักการออมเงิน

2.  จากนั้นครูให้นักเรียนดูคลิปวิดีโอเรื่อง 5 กฎของการออมเงินคลิปวิดีโอเรื่อง 5 กฎของการออมเงิน ฉบับเริ่มทำได้จริง และให้นักเรียนช่วยกันบอกว่านักเรียนจะนำไปปรับใช้กับวิธีการออมของนักเรียนอย่างไร

3.  นักเรียนแต่ละคนออกมานำเสนอใบงาน “เด็กดีมีเงินออม” พร้อมนำเสนอวิธีการออมเงินของตนเองและผลที่ได้รับจากการออมเงิน

 

ขั้นสอน

4.  จากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงความจำเป็นและความสำคัญในการออมเงิน พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของการออมเงิน

 

ขั้นสรุป

5.  นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้เรื่องการออมเงิน พร้อมทั้งแนะนำวิธีการออมเงินที่ถูกต้องให้นักเรียนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักและเห็นคุณค่าของการออมเงิน ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดีในอนาคต

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

แบบประเมินพฤติกรรมการออมเงิน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

 

ดีมาก

(4)

ดี

(3)

พอใช้

(2)

ปรับปรุง

(1)

หมายเหตุ

1.นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจ

เกี่ยวกับการออม

 

 

 

 

 

2.รู้จักประหยัด มีความพอเพียง

และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

 

 

 

 

3.มีการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

(ดูจากกลักฐานการออมเงิน)

 

 

 

 

 

4.มีนิสัยรักการออม

 

 

 

 

 

 

                          รวม

 

 

 

ลงชื่อ………………………………………….

               (………………………………………..)

                                                                                        ผู้ประเมิน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

12-16

ดีมาก

7-11

ดี

6-10

พอใช้

ต่ำกว่า 5

ปรับปรุง