ทิศทางการดำเนินงานสำคัญ
ทิศทางการดำเนินงานสำคัญปี 2566
การดำเนินงานของ ธปท. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 ที่ผ่านมา มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยรองรับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทวีความเร็วและแรงขึ้น โดยเฉพาะการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่ต้องตอบโจทย์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วทันการณ์
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้ทั่วถึงและยั่งยืน ธปท. ได้วางทิศทางการดำเนินงานสำคัญระยะปานกลาง ผ่านการปรับภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย (Financial Landscape) รวมถึงจัดทำและเผยแพร่ directional papers ในแต่ละเรื่อง อาทิ ทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงิน และแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน
สำหรับทิศทางการดำเนินงานสำคัญระยะสั้น ธปท. ได้นำเครื่องมือ OKRs (Objective and Key Results) มาใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสำคัญรายปี เพื่อรองรับบริบทสภาพแวดล้อมที่มีการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว ทั้งวิถีชีวิต รูปแบบธุรกิจ บริการทางการเงิน และระบบเศรษฐกิจที่เร่งตัวอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท. ยังสามารถดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้โดยไม่สะดุด กระจายประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน พร้อมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ และยังคงทำหน้าที่ของ ธปท. ได้อย่างเท่าทันในโลกที่ท้าทายกว่าเดิม
ธปท. มีทิศทางการดำเนินงานสำคัญในปี 2566 ดังนี้
1. Smooth takeoff: เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้โดยไม่สะดุด
2. แก้หนี้ยั่งยืน: วางกลไกแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน
3. การเงินสิ่งแวดล้อม: ภาคการเงินช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
4. การเงินดิจิทัล: วางโครงสร้างพื้นฐานการเงินดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาส นวัตกรรม และการเข้าถึงบริการทางการเงิน
5. HROD (Human Resource Organization Development): สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พนักงานทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
1. ทิศทางการดำเนินงานสำคัญ
- รายละเอียดทิศทางการดำเนินงานสำคัญปี 2566
- ทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย
- ทิศทางการพัฒนาระบบการชำระเงิน ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย
- แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน
2. แผนยุทธศาสตร์ ธปท. ฉบับย้อนหลัง