ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเชิญชวนบุคคลทั่วไปเข้าร่วมแข่งขันออกแบบนโยบายอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนา 3 ด้าน คือ การเงินดิจิทัล การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาหนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงินอย่างยั่งยืน

รายละเอียด

การแข่งขันออกแบบนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงการเสนอบริการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ การแก้ไขปัญหา กรอบการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการส่งเสริมการใช้งานจริง ซึ่งเป็นการเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนทั่วไป ผ่านการแลกเปลี่ยนความเห็นและร่วมกิจกรรม โดยมีวิทยากรจากทั้งภายในและภายนอก ธปท. ร่วมให้ความรู้กับผู้เข้าแข่งขัน

มี 3 ด้านหลัก ดังนี้

• การเงินดิจิทัล คือ แนวคิดการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงิน ที่ตอบความต้องการในยุคดิจิทัล เข้าถึงผู้ใช้ได้สะดวก และมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

ตัวอย่าง เช่น virtual bank การโอนเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง

แนวคำถาม : ทำอย่างไรให้ ผู้ใช้บริการทางการเงินทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในโลกดิจิทัล จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลที่มีมากขึ้น โดยยังคำนึงถึงผู้ใช้บริการและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม

• การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ แนวคิดการให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยที่มุ่งเน้นการปรับตัวและลดกิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง เช่น การให้สินเชื่อหรือการลงทุนที่สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อม การบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสภาพอากาศ

แนวคำถาม : ทำอย่างไรให้ ภาคการเงินช่วยเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ ปรับตัวได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (greener economy) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สอดรับกับนโยบายทั้งจากภายในและต่างประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

• การแก้ปัญหาหนี้ คือ แนวคิดการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งระดับประเทศและส่วนบุคคล โดยรวมถึงการพัฒนากลไก เครื่องมือ หรือบริการ ที่ช่วยจัดการและแนะนำการแก้หนี้

ตัวอย่าง เช่น การลดหนี้ครัวเรือน การบริหารเงินและหนี้ การให้ความรู้ทางการเงิน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ

แนวคำถาม : ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถยกระดับความรู้ทางการเงิน และการบริหารจัดการหนี้ ได้ในทุกภาคส่วน รวมถึงมีมาตรการหรือแนวทางเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • บุคคลทั่วไป สัญชาติไทย
  • แต่ละทีมมีสมาชิกไม่เกิน 6 คน
  • กรณีมีสมาชิก 1 คน ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้

  • เปิดรับสมัครตั้งแต่ 18 เม.ย. - 16 พ.ค. 65
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 30 ทีมในวันที่ 20 พ.ค. 65 โดยพิจารณาจากคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด การเลือกหัวข้อและการตอบคำถามในใบสมัครที่ครบถ้วน และเหตุผลของการสมัครเข้าร่วมโครงการหรือแนวคิดที่สนใจเพื่อนำมาพัฒนาในการนำเสนอนโยบาย
  • มีการแข่งขันในช่วง มิ.ย. 65 และประกาศรางวัลช่วงเดือน ก.ค. 65
  • โดยการแข่งขันมี 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 : ส่งข้อเสนอนโยบาย (policy paper) ไม่เกิน 10 หน้า พร้อมสรุปสาระสำคัญ (executive summary) และ clip VDO นำเสนอประมาณ 5 นาที ผ่านช่องทาง online และ ธปท. จะประกาศผู้ผ่านเข้ารอบที่ 2

รอบที่ 2 : ผู้ที่ผ่านเข้ารอบที่ 2 ปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเพื่อนำส่งอีกครั้ง และมานำเสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน

ทั้งนี้ ผลงานการออกแบบนโยบายที่ผ่านเข้ารอบนั้น ธปท. อาจคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นหรือน่าสนใจเพื่อนำเสนอผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ ธปท. เช่น เว็บไซต์ และ Facebook เป็นต้น

Timeline

  • กรอกใบสมัครออนไลน์
  • หลังจากส่งใบสมัครแล้ว ผู้เข้าร่วมทีมตามใบสมัครทุกท่านจะได้รับ email จาก ธปท. เพื่อรับทราบและลงนามในข้อตกลงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะได้เข้าร่วมฟังบรรยายในกิจกรรม " Insight Talk with Gurus" ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 – 17.45 น. ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

กำหนดการ Workshop : Insight Talks with Gurus

 

เวลา หัวข้อ
10:00 – 10:45 (45 นาที)บทบาทงานสำคัญของ ธปท. และความท้าทายในอนาคตของธนาคารกลาง (30 นาที) และ Q&A (15 นาที) [เอกสาร]
 

วิทยากร : 

ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ 

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย

10:45 – 11:30 (45 นาที)  หลักการการกำกับดูแลที่สำคัญ (30 นาที) และ Q&A (15 นาที) [เอกสาร]
 

วิทยากร : 

คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย  

11:30-12:00 (30 นาที)วัตถุประสงค์ของ Policy Hackathon และผลงานที่คาดหวัง และ Q&A (15 นาที) [เอกสาร]
 

วิทยากร

คุณวิจิตรเลขา มารมย์  

ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารความเสี่ยงภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทย 

13:30-15:00 (90 นาที)Design Thinking (15 นาที) และ Q&A (15 นาที)  
 

วิทยากร :

1) นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE

2) คุณปริชา ดวงทวีทรัพย์ Design Strategist, Looloo Technology และ Co-founder, Amplifi Design [เอกสาร]

15:00-16:00 (60 นาที)การสื่อสาร & story telling 
 

วิทยากร : 

คุณกำพล ลักษณะจินดา Executive Creative Director บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

16:15-17:45 (90 นาที)ภาพรวมแยกแต่ละ session  
 (1) การเงินดิจิทัล  
 

วิทยากร :

1) คุณดาวิน สมานนท์ และคุณบุญตา แสนภักดี เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย [เอกสาร]

2) คุณณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย [เอกสาร]

 และ Q&A (15 นาที)  
 (2) การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม 
 

วิทยากร :

1) ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) [เอกสาร]

2) คุณศิริพิมพ์ วิมลเฉลา ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย [เอกสาร]

 

และ Q&A (25 นาที)  

 

(3) การแก้ปัญหาหนี้

1) คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย [เอกสาร]

2) นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษา SMEs (บสย. F.A. Center) [เอกสาร]

3) คุณสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย [เอกสาร]

 

และ Q&A (15 นาที)

รายชื่อ 12 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายและผลงานที่นำเสนอ

คลิป VDO งาน Policy Hackathon

ดูทั้งหมด

พิธีมอบโล่รางวัล และการกล่าวปาฐกถา โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

BOT's Reflection

ดกดกดก

คลิป VDO ผู้เข้าแข่งขันงาน Policy Hackathon

ดูทั้งหมด

Team01 | noboru (โนโบรู)

Team02 | PH7 เป็นกลาง

Team03 | 2 หน่อแก้หนี้

Team04 | 3 ส

Team05 | Dnext

fdfdffdfd