INFLATION : เงินเฟ้อโลก เงินเฟ้อไทย

เเละทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง

img

Editor’s welcome

 

BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับที่แล้วได้ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ปลายปี 2564 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ แบงก์ชาติต้องจับตามองปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพราะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือ ระดับของเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในต่างประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง และในประเทศไทยจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เป็นเรื่องของอุปทานเป็นหลัก ซึ่งแบงก์ชาติในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินได้ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเพื่อหานโยบายรองรับอย่างเหมาะสม

Highlight

เงินเฟ้อโลก เงินเฟ้อไทย และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง

เงินเฟ้อเป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีคนพูดถึงกันมากในขณะนี้ หลังจากเห็นทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายประเทศ (รูปที่ 1) ไม่เพียงแต่เงินเฟ้อในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (Advanced Economies: AEs) ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี แต่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) ก็เริ่มเห็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวเช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความกังวลต่อทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในระยะข้างหน้า BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ จึงขอพาไปทำความรู้จักกับสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อโลกปรับสูงขึ้น ตลอดจนผลกระทบต่อนโยบายการเงินแต่ละประเทศรวมถึงไทยว่าเป็นอย่างไร

อ่านต่อ
img

Executive's Talk

img

Executive's Talk

ถอดแนวคิดรับมือ "เงินเฟ้อ" ของ ธปท. ในห้วงแห่งความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก

ปี 2565 เป็นอีกปีที่ท้าทายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นอย่างมาก ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ปัญหาการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากันของเศรษฐกิจไทย และแรงกดดันล่าสุด "สถานการณ์เงินเฟ้อ" ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่กลางปี 2564 และทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น หลังสงครามความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับเกียรติจาก ดร.ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. และเลขานุการ กนง. มาถ่ายทอดแนวคิดของ กนง. ในการรับมือความผันผวนของเงินเฟ้อ และการดูแลเศรษฐกิจไทยท่ามกลางเหวลึกแห่งความเปราะบาง และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย

อ่านต่อ
img

Executive's Talk

FINANCIAL LANDSCAPE CONSULTATION PAPER สารตั้งต้นสู่ "สมดุล - ยืดหยุ่น - ยั่งยืน" เพื่อภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ "เอกสารภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน" หรือ "Financial Landscape Consultation Paper" ต่อสาธารณชนบนเว็บไซต์ ธปท. พร้อมกับเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นและมุมมองทุกมิติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและออกแบบ "แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย" ที่มุ่งตอบสนองบริบทของเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจการเงินไทย โดยอาจกล่าวได้ว่า ผลจากการรับฟังครั้งนี้จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้เกิดการตกผลึกความสมดุลของ ธปท. ในการปรับแนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล นับเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญแรกที่กลั่นกรองจากกระบวนการรับฟังหลังการเปิดตัวเอกสารฯ ดังกล่าว

อ่านต่อ

img

ทำความรู้จักธนบัตรพอลิเมอร์ 20 บาท วัสดุใหม่เพื่อความยั่งยืน

ถ้าจะพูดถึงเงินธนบัตรในความคิดคนทั่ว ๆ ไป คนไทยส่วนใหญ่ย่อมจะนึกถึงธนบัตรที่ผลิตมาจากกระดาษ เพราะมีความคุ้นเคยกับวัสดุแบบนี้มาอย่างยาวนานตั้งแต่เล็กจนโต แต่รู้หรือไม่ว่า ธนบัตรที่เราใช้หมุนเวียนกันอยู่ทุกวันนี้ โดยเฉพาะชนิดราคาต่ำ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยเพียง 2 - 3 ปี ก็จะเก่าชำรุดตามสภาพการใช้งาน และถูกนำกลับมาทำลายเพื่อผลิตธนบัตรใหม่ต่อไป     

title-icon Special Scoop
ทำความรู้จักธนบัตรพอลิเมอร์ 20 บาท วัสดุใหม่เพื่อความยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตธนบัตร รวมถึงการบริหารจัดการให้มีธนบัตรเพียงพอต่อการใช้งานของคนในประเทศ เล็งเห็นว่าการเลือกใช้วัสดุอื่นที่ทนทานกว่าจะสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของธนบัตร และยังช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดในกระบวนการผลิตธนบัตรทดแทน การขนส่งและกระจายธนบัตร รวมทั้งการทำลายธนบัตรที่เสื่อมสภาพและหมดอายุการใช้งานได้อีกด้วย

img

image

Inspiration :

คุณค่าของความรู้ สู่ WEALTH CREATION            

FINNOMENA "ปรากฏการณ์ทางการเงิน" ที่ใช้ "ความรู้" เป็นอาวุธในการปลุกปั้นธุรกิจซื้อขายหน่วยลงทุนจนมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท และยังมีฐานผู้เข้าชมเว็บไซต์ รวมทั้งรายการต่าง ๆ แบบ organic reach มากกว่า 50 ล้านคนต่อเดือน วันนี้ฟินโนมีนาเตรียมยกระดับไปอีกขั้นด้วยการจับมือพาร์ตเนอร์พัฒนาการให้บริการใหม่ ๆ เพื่อรองรับเมกะเทรนด์การเงินที่กำลังเปลี่ยนจากเงินตราธนบัตร (fiat currency) ไปสู่เงินดิจิทัล (digital currency) มากขึ้นในอนาคตอันใกล้

image

"สภาพัฒน์" ในห้วงยามแห่งความท้าทาย เร่งแก้วิกฤต ปูทางพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใต้วิกฤตโควิด 19 ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา โอกาสนี้ BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับเกียรติจาก คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์" มาเปิดใจถึงบททดสอบที่ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานกว่า 20 ปีในหน่วยงานเศรษฐกิจแห่งนี้ ในการแก้ "โจทย์ยากเฉพาะหน้า" ที่รุมเร้า ควบคู่ไปกับการเร่งรัดวางโครงสร้างเพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่เส้นทางแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การแก้ไข "ปัญหาเรื้อรัง" ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

title-iconThought Leader
สภาพัฒน์ ในห้วงยามแห่งความท้าทาย เร่งแก้วิกฤต ปูทางพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใต้วิกฤตโควิด 19 ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา โอกาสนี้ BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับเกียรติจาก คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์" มาเปิดใจถึงบททดสอบที่ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานกว่า 20 ปีในหน่วยงานเศรษฐกิจแห่งนี้ ในการแก้ "โจทย์ยากเฉพาะหน้า" ที่รุมเร้า ควบคู่ไปกับการเร่งรัดวางโครงสร้างเพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่เส้นทางแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การแก้ไข "ปัญหาเรื้อรัง" ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

img

Local VS Global

img

เศรษฐกิจติดดิน

เปิดประตูการขนส่งเส้นทางใหม่ คว้าโอกาสให้การค้าไทยจากรถไฟจีน - ลาว

รถไฟจีน - ลาวเปิดให้บริการไปแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 นับเป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่ภายใต้ "ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)" ของรัฐบาลจีน ที่ครอบคลุมระยะทางยาวถึง 1,035 กิโลเมตรจากนครคุนหมิงถึงนครหลวงเวียงจันทน์ และใช้ระยะเวลาในการขนส่งเพียง 8 ชั่วโมง โดยสถานีปลายทางสุดท้ายสิ้นสุดที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ห่างจากจังหวัดหนองคายเพียง 24 กิโลเมตร

อ่านต่อ
metaverse

Global Trend

"METAVERSE" เมื่อโลกเสมือนก้าวสู่โลกแห่งความจริง

หลายคนอาจยังสงสัยถึงนิยามของคำว่า Metaverse หรือในภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติให้ใช้คำว่า "จักรวาลนฤมิต" แต่หากเป็นผู้ที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือ ชมภาพยนตร์ หรือเล่นวิดีโอเกม อาจจะได้เห็นแนวคิดของ Metaverse บ้างแล้ว จากภาพยนตร์อย่าง The Matrix หรือในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Snow Crash ของนีล สตีเฟนสัน ที่เขียนขึ้นในปี 2535 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นงานแรกที่มีคำว่า Metaverse อธิบายถึงผู้อยู่อาศัยแบบออนไลน์ที่ทำธุรกรรมโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและได้ทำลายล้างสกุลเงินในปัจจุบันไปจนหมดสิ้น

อ่านต่อ

Knowledge Corner

img

Payment System

Payment Diary เจาะลึกพฤติกรรมการชำระเงินประจำวันของไทย

เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้จักและใช้บริการ PromptPay หรือ QR payment รวมทั้งเคยใช้ e-payment บางอย่าง เช่น โอนเงินให้แม่ค้าออนไลน์ผ่าน mobile banking รูดบัตรชอปปิงเสื้อผ้า เติมเงินในบัตรรถไฟฟ้าโดยใช้ e-money รับเงินสวัสดิการ รับคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคาร หรือล่าสุดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือการรับ - จ่ายเงินตามโครงการคนละครึ่ง

อ่านต่อ
img

Financial Wisdom

วิชาเงินเฟ้อ 101

ช่วงนี้มีข่าวพูดถึง "เงินเฟ้อ" กันมาก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของต่างประเทศและของไทย Financial Wisdom จึงขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ "เงินเฟ้อ" เพื่อพร้อมรับมือและเตรียมตัววางแผนแต่เนิ่น ๆ

อ่านต่อ

Video ประจำคอลัมน์

ดูทั้งหมด

"สภาพัฒน์" ในห้วงยามแห่งความท้าทาย เร่งแก้วิกฤต ปูทางพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย กับคุณดนุชา พิชยนันท์

17 ส.ค. 2566

ถอดแนวคิดรับมือ "เงินเฟ้อ" ของ ธปท. ในห้วงแห่งความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก กับ ดร.ปิติ ดิษยทัต

17 ส.ค. 2566