​​BOT​ พระสยาม Magazine ฉบับที่ 3/256​​​​​​5 (กรกฎาคม - กันยายน)​​​​​

.

img

Editor’s welcome

ในปัจจุบันที่สถานการณ์โควิด 19 บรรเทาลงแล้ว เราได้เห็นหลายธุรกิจกลับมาคึกคัก อีกครั้ง รายได้และความเชื่อมั่นของแรงงานเริ่มค่อย ๆ ขยับขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ไม่ได้เห็นมานาน ก็เริ่มกลับเข้ามาตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ มากขึ้น ภาพเหล่านี้ จึงเป็นสัญญาณที่สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยกำลังทยอยฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ 

ขณะที่เศรษฐกิจกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว ปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความเข้มข้นขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาพลังงานโลกเร่งขึ้นและผันผวนสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อ ทั่วโลกพุ่งขึ้นแรงในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหลายประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวไปก่อน หน้าไทยนาน ๆ เช่น สหรัฐฯ เพราะมีทั้งเงินเฟ้อจากราคาพลังงานและเศรษฐกิจที่โต อย่างร้อนแรง แบงก์ชาติเองก็ได้รับคำถามมาว่า เมื่อสถานการณ์แตกต่างไปจากเดิม เช่นนี้แล้ว ถึงเวลาหรือยังที่แบงก์ชาติจะต้องปรับแนวนโยบายและมาตรการให้สอดคล้อง กับบริบทที่เปลี่ยนไป 

Cover Story

img

Highlight

BACK TO NORMAL ก้าวต่อไปนโยบายการเงินไทยภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ในช่วงวิกฤตโควิด 19 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง และฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค หัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงินและมาตรการทางการเงินจึงเน้นไปที่การบรรเทาผลกระทบและดูแลให้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวได้ ในขณะที่ระบบสถาบันการเงินยังทำงานได้อย่างปกติที่สุด แบงก์ชาติจึงได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ รวมทั้งผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลเพื่อลดภาระให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้มากขึ้น ที่สำคัญ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงไปในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ต่อปี เพื่อดูแลให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลาย และต้นทุนทางการเงินไม่สูงจนเกินไป

อ่านต่อ
img

Executive's Talk

นโยบายการเงินแบบปกติ ในโลกที่ยังไม่ปกติ POLICY NORMALIZATION ในสายตาเมธี สุภาพงษ์

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 6 : 1 ให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% (ปรับจาก 0.5% เป็น 0.75%) นับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบสามปี และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกหลังจากที่โลกและสังคมไทยเผชิญวิกฤตโควิด 19

อ่านต่อ

Talk with our guest

img

Thought Leader

พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในยามที่นโยบายการเงินเป็น "พระเอก" นโยบายการคลังจะเป็น "เพื่อนพระเอก"

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" "เราไม่ทิ้งกัน" "คนละครึ่ง" "เราเที่ยวด้วยกัน" เหล่านี้คือชื่อของมาตรการช่วยเหลือประชาชนในยุคโควิด 19 ที่ไม่เพียงแต่ติดหูคนไทยเท่านั้น หากแต่ได้รับการยอมรับอย่างสูงว่าเป็น "นวัตกรรมเชิงนโยบาย" ที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อ
img

Inspiration

"เพราะความรู้ทางการเงินคือทักษะในการจัดการชีวิต" เบื้องหลังการออกแบบหลักสูตรสำหรับนักเรียนยุคใหม่ ตามแบบโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อคุณภาพระบบการศึกษาไทย ชื่อของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือสาธิต มธ. นั้นเป็น "แรงบันดาลใจ" ในหลายมิติ โดยเฉพาะหลักสูตรที่เน้นไปที่แก่นของการเรียนรู้ และการออกแบบรายวิชาเพื่อตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต

อ่านต่อ

Knowledge Corner

img

Knowledge Corner

เรื่องวุ่นวายของนายเงินเฟ้อ

นายเอเป็นนักศึกษาอายุ 20 ปี ที่บ้านทำธุรกิจหอพักให้เช่าและเปิดร้านโชห่วยใต้หอด้วย ปกติเขาจะมาช่วยเฝ้าร้านในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บริษัทที่ขายสินค้าให้กับทางร้านติดต่อมาว่าจะขึ้นราคาสินค้าเกือบทุกรายการที่เขาซื้อมาขายต่อ โดยอ้างว่าเพราะเงินเฟ้อ เอโมโหมาก เขาหาเบอร์ผู้จัดการแล้วโทรไปต่อว่าอย่างหนัก ผู้จัดการสัญญาว่าจะส่งคนมาอธิบายสาเหตุให้เขาฟังถึงที่ร้าน เอจึงคลายโมโหลงแล้วรอให้ถึงวันเสาร์ที่นัดไว้

อ่านต่อ
img

The Knowledge

POLICY NORMALIZATION การดำเนินมาตรการทางการเงินภายใต้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเผชิญกับผลกระทบที่รุนแรงและยืดเยื้อจากการระบาดของโควิด 19 ภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงต้องผสมผสานนโยบายการคลังและการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวได้ไม่สะดุดและระบบสถาบันการเงินยังทำงานได้ตามปกติ

อ่านต่อ

Local VS Global

img

เศรษฐกิจติดดิน

เปิดภาพอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ท่ามกลางกระแสโลกใหม่

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้บริบทของโลกแตกต่างไปจากเดิม เราจะอยู่ภายใต้กระแสโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกระแสดิจิทัลและความยั่งยืน ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยในทุกมิติ

อ่านต่อ
img

Global Trend

ของฝากจากงาน World Economic Forum

World Economic Forum (WEF) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ มีการจัดงานประชุมประจำปี ณ เมืองดาวอส สหพันธรัฐสวิส เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ WEF เป็นเวทีใหญ่ที่บุคคลสำคัญ ในหลากหลายด้าน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ นักวิชาการ สื่อมวลชน และบุคคลที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลกมาร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวคิด รวมถึงสร้างความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อรองรับความท้าทายระดับโลกพร้อมทั้งกำหนดทิศทางที่ยั่งยืนในอนาคต

อ่านต่อ