​BOT​ พระสยาม Magazine ฉบับที่ 5/2564​​​​​​​​​​ (กันยายน - ตุลาคม)​​​​​

.

img

Editor’s welcome

การเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการทั่วโลก ได้สร้างผลข้างเคียงคือ การเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินสมดุล ของธรรมชาติ ส่งผลให้อุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้น หรือเกิด “ภาวะโลกร้อน” ที่ทำให้เกิด สภาพอากาศแปรปรวน มีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น กระทบกับ ระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจและสังคม หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกรวน” อีกด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการออกมาตรการหรือกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่สนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนของภาครัฐ หรือการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปสู่สิ่งที่เรียกว่า eco-conscious” มากขึ้น 

Cover Story

ในบรรดาความเสี่ยงมากมายที่สังคมเศรษฐกิจโลก (และไทย) กำลังเผชิญ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ "climate change" นับเป็นความเสี่ยงที่ถูกประเมินไว้สูงสุด ทั้งในแง่ของ "โอกาสที่จะเกิด" และ "ความรุนแรงของผลกระทบ" รายงาน Global Risks Report ของ World Economic Forum พบว่า climate change เป็นความเสี่ยงที่ติด 5 อันดับแรกต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2553

ความเสี่ยงที่สุดที่มนุษยชาติต้องพบเจอ

Executive's Talk

"การธนาคารเพื่อความยั่งยืน" พลังขับเคลื่อนสู่การพัฒนาในระยะยาว

 

แนวคิดการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงินเริ่มตกผลึกชัดเจนในเวทีการเงินโลกตั้งแต่ปี 2554 จากการจัดตั้ง Network for Greening the Financial System ที่เป็นการรวมกลุ่มของผู้กำกับและตรวจสอบ เพื่อมาดูประเด็นความเสี่ยงด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับประเทศไทย เราเริ่มเห็นการดำเนินการของภาคธนาคารในปี 2561 เมื่อครั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ริเริ่มจัดงาน Bangkok Sustainable Banking Forum เป็นครั้งแรก เพื่อเน้นย้ำบทบาทของธนาคารในการส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการเงินไทย

Executive's Talk

Special Scoop

สร้างภูมิคุ้มกัน ผลักดันเศรษฐกิจไทย

 

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 หรือ BOT Symposium 2021 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ "สร้างภูมิคุ้มกัน ผลักดันเศรษฐกิจไทย" นอกจากจะมีการนำเสนอผลการศึกษาที่น่าสนใจในมิติต่าง ๆ จากนักวิชาการแล้ว ผู้ว่าการ ธปท. ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ยังได้กล่าวถึงมุมมองต่อความท้าทายจากวิกฤต และแนวคิดในการเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย เราจึงขอนำคำกล่าวบางส่วนมาฝากผู้อ่าน

Special Scoop

Knowledge Corner

HOW TO มีชีวิตการเงินที่ยั่งยืน

HOW TO มีชีวิตการเงินที่ยั่งยืน

เรื่องเงินเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเราตลอดชีวิต หลายคนจึงปรารถนาให้มีความสบายใจเรื่องการเงินในทุก ๆ วัน มีเงินใช้ ไร้กังวล กินอิ่ม และหลับสบาย Financial Wisdom จึงอยากชวนผู้อ่านทุกท่านมาร่วมหาคำตอบว่า ความสบายใจเรื่องการเงินในทุก ๆ วัน หรือการมีชีวิตการเงินที่ยั่งยืนประกอบด้วยอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

เริ่มต้นที่ความสบายใจเรื่องการเงินอย่างแรก "มีเงินพอใช้ตลอดไป" แต่ต้องทำอย่างไร? ขอเสนอว่าทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามาให้แบ่งเงินเป็นส่วน ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งในวันนี้และวันหน้า ด้วยการทำแผนใช้เงิน (budgeting) แล้วปรับเพิ่มลดให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตและรายได้ของเรา ซึ่งค่าใช้จ่ายที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ควรเตรียมเงินไว้ให้พร้อม คือ ค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และแบบที่มาเป็นระยะ เช่น ค่าเทอมลูก และค่าผ่อนสิ่งของที่เราซื้อมาด้วยเงินกู้ นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายในอนาคตหรือเพื่อทำความฝันให้เป็นจริง เช่น เรียนต่อปริญญาโท ท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย เตรียมเงินไว้ใช้สบาย ๆ ในช่วงหลังเกษียณ รวมทั้งแบ่งเงินอีกส่วนไว้เพื่อความสุขของตัวเองโดยไม่ทำให้เราและคนรอบข้างเดือดร้อน และไม่เพลิดเพลินกับการซื้อของที่อยากได้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว

อ่านต่อ
แบงก์ชาติกับการผลิตธนบัตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แบงก์ชาติกับการผลิตธนบัตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ท่านทราบหรือไม่ว่า การผลิตธนบัตรที่เราใช้หมุนเวียนกันอยู่ในปัจจุบันต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ใช้พลังงานมากแค่ไหน และทำให้เกิดของเสียที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในปัจจุบันและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง ในภาพใหญ่ ธปท. มุ่งสร้างความยั่งยืนตามแนวคิด ESG ที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนให้ทัดเทียมกับธนาคารกลางชั้นนำในต่างประเทศ BOT Get to Know ฉบับนี้ ขอพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงแนวคิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตธนบัตรของสายออกบัตรธนาคาร ธปท. ไปสู่การผลิตธนบัตรแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ

Talk with our guest

วรวัฒน์ สภาวสุ Trash Hero กับปฏิบัติการเปลี่ยนโลกด้วยสองมือ

 

เมื่อสภาวะโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมมาถึงจุดวิกฤตที่หลายคนไม่อาจนิ่งดูดาย Trash Hero คือหนึ่งในกลุ่มอาสาสมัครที่ออกปฏิบัติการเก็บขยะ ด้วยพลังเล็ก ๆ ที่หวังจะคืนความงดงามให้กับโลกใบนี้

talk

Local VS Global

ถนนทุกสายมุ่งสู่ ESG

ถนนทุกสายมุ่งสู่ ESG

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คน สังคม และเศรษฐกิจไปทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคเกิดการตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงของมนุษย์และธรรมชาติรอบตัวมากขึ้น แน่นอนว่ากระแสการตระหนักรู้นี้ย่อมทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป

 ผลสำรวจ Global Consumer Insights Pulse Survey ของ PricewaterhouseCoopers ประจำเดือนมิถุนายน 2564 จากผู้บริโภคจำนวน 8,681 คน ใน 22 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่งในปัจจุบัน โดย 50% ของผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ถึง 76% โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าจะเลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีจิตสำนึกและสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

อ่านต่อ
Plant-based meat กลไกการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสู่ความยั่งยืน

Plant-based meat กลไกการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสู่ความยั่งยืน

ในช่วงที่ผ่านมา กระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้รับการกล่าวถึงในเวทีโลกอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ (Bio-Circular-Green economy: BCG) ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาสร้างจุดแข็งให้กับประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยเริ่มจากอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ อุตสาหกรรมอาหาร

ปี 2562 อุตสาหกรรมอาหารไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 611,481 ล้านบาท[1] และมีจำนวนผู้ประกอบการ 5,872 ราย ในปี 2564 อุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีการจ้างงานมากถึง 1.4 ล้านคน[2] โดยกว่า 40% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงานอยู่ในภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรสำคัญของประเทศ จากข้อเท็จจริงดังกล่าว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมอาหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจไทยทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดจุดแข็งเดิมของไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติในการเป็น "ครัวของโลก" ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นโอกาสของผู้ประกอบการในธุรกิจด้านการเกษตรและอาหาร แต่ยังช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรและชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืนจากการปลูกพืชผลทางการเกษตรป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดโลก

อ่านต่อ