ประกาศภายใต้ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560

ติดต่อสอบถาม

1.1 จะสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้อย่างไร
  • สามารถตรวจสอบได้ที่หน้าเว็บไซต์รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ (Link)

2.1 จะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตและขั้นตอนการดำเนินการจากที่ไหน
  • สามารถศึกษาข้อมูลขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือสำหรับประชาชน (Link)

 

​2.2 นิติบุคคลต่างประเทศสามารถขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินได้หรือไม่

  • คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต/ขึ้นเทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งในประเทศไทย เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร ซึ่งสามารถศึกษาหลักเกณฑ์ตามประกาศที่ ธปท. 3/2561 (Link) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ นอกจากนี้ การให้บริการบางประเภทอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินด้วย จึงควรศึกษาหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ซึ่งสามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-356-7799

 

​2.3 หากต้องการประกอบธุรกิจที่อาจเข้าข่ายเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การกำกับ แต่ยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทสามารถขอนัดหารือ ธปท. ก่อนได้หรือไม่

  • ในเบื้องต้น ​ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือประชาชน (Link) ผ่านทางเว็บไซต์ ธปท. และหากมีความแน่ชัดในการประกอบธุรกิจและมีรูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนแล้ว สามารถศึกษาขั้นตอนการขออนุญาตได้จากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.4 ​หลังจากได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนแล้ว บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัติหรือไม่อย่างไร

  • 1. ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนที่ รมว.คลัง และ ธปท. กำหนด
    2. ประกอบธุรกิจโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด เช่น การแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การขออนุญาตดำเนินการ การส่งรายงาน รวมทั้ง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนดในการรับทราบ หรืออนุญาตตามหลักเกณฑ์

 

​2.5 รัฐวิสาหกิจสามารถขอใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารใดบ้าง

  • ​ตามประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) ข้อ 4.2 (1.1.2) ระบุว่ารัฐวิสาหกิจเป็นนิติบุคคลที่สามารถยื่นขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาตจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

​2.6 หากต้องการศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของบริษัทที่สามารถขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ และข้อกำหนดเรื่องทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของแต่ละประเภทบริการได้ที่ไหน

  • ​ขอให้บริษัทศึกษาประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาต/ขึ้นทะเบียนจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.7 ​บริษัทที่จะขอใบอนุญาต จำเป็นต้องจัดตั้งใหม่หรือไม่ หรือสามารถใช้บริษัทที่ดำเนินการอยู่แล้วมาขอใบอนุญาตได้เลย

  • บริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้ว สามารถยื่นขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กรณีการประกอบธุรกิจ emoney ที่ต้องได้รับอนุญาต จะมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้เฉพาะที่ ธปท. อนุญาตให้เป็นรายกรณีเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทมีการประกอบธุรกิจอื่นอยู่ด้วย จะต้องหารือกับ ธปท. เพื่อพิจารณาก่อนดำเนินการขออนุญาต ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์เพิ่มเติมได้จากประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link)

 

​2.8 ใบอนุญาตสามารถโอนเปลี่ยนมือได้หรือไม่ 

  • ​การอนุญาตเป็นการให้เฉพาะนิติบุคคลนั้น จึงไม่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือได้ ดังนั้นบริษัทที่ให้บริการจะต้องมี License

 

​2.9 ทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้ว ต้องมี bank guarantee หรือไม่

  • ​ไม่ต้อง

 

​2.10 กรณีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ จะมีการตรวจสอบประวัติด้วยหรือไม่

  • ​ตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน มาตรา 14 กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด ซึ่ง ธปท. จะดำเนินการตรวจสอบตามที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการและผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องมีการ Declare ข้อมูลตามแบบประวัติกรรมการและลงนามรับรองคุณสมบัติด้วย 

 

​2.11 การขอใบอนุญาตมีค่าธรรมเนียมหรือไม่

  • ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการจัดเก็บค่าใบอนุญาต ทั้งนี้ หากในอนาคตจะมีการเก็บค่าใบอนุญาต จะมีการประกาศให้ทราบต่อไป

 

2.12 ​ใบอนุญาตมีวันหมดอายุหรือไม่

  • ​ใบอนุญาตไม่มีกำหนดวันหมดอายุ

 

​2.13 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต e-Money สามารถประกอบธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ได้หรือไม่

  • ผู้ประกอบธุรกิจ e-Money ต้องประกอบธุรกิจเฉพาะ e-Money เท่านั้น หากจะประกอบธุรกิจอื่นจะต้องเป็นไปตามขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ประกาศกำหนด โดยสามารถศึกษาได้ตามประกาศ สนช.ที่ 7/2561 (Link) ข้อ 4.2.11 ซึ่งระบุว่า ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ห้ามประกอบธุรกิจอื่นนอกจาก (1) ธุรกิจที่บางส่วนหรือทั้งหมดเกี่ยวกับหรือเนื่องจากการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (2) ธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจระบบหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหลัก และเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ ดังนั้น หากบริษัทประสงค์จะประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ขอให้หารือ ธปท. ก่อน โดยประสานงานกับ Compliance Officer ที่ดูแลบริษัทได้โดยตรง

 

2.14 ​มีคู่มือประชาชนที่เป็นภาษาอังกฤษ และสามารถยื่นเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่

  • สามารถดู​คู่มือประชาชนฉบับภาษาอังกฤษได้ที่หน้าเว็บไซต์ (Link) ส่วนเอกสารส่วนใหญ่สามารถยื่นเป็นภาษาอังกฤษได้ ยกเว้นเอกสารที่มีการกำหนดแบบฟอร์มไว้แล้ว เช่น แบบฟอร์มการขอใบอนุญาตที่ต้องยื่นเป็นภาษาไทย

ประกาศภายใต้ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน

 

หมวด 2 ระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับประมวล ข้อ 2.1 - 2.3)

​2.1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (สนช. 3/2561)

2.2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2) (สนช. 16/2561)
      - แบบการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ
      - แบบหนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการ
      - แบบการขอรับใบแทนกรณีใบอนุญาตฯ สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ

      - แบบประวัติกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบธุรกิจ

      - แบบรับรองผู้ถือหุ้นรายใหญ่

      - แบบรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม

  2.3 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 3) (สกช. 1/2566)
หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับประมวล ข้อ 2.4 - 2.5)

2.4 หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (สนช. 4/2561)

      - แบบประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศ
      - แบบรายงานการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
      - แบบรายงานปัญหากรณีเกิดเหตุขัดข้องที่มิได้เกิดจากระบบของผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยฯ หรือระบบเครือข่ายบัตร
      - แบบรายงานปัญหากรณีเกิดเหตุขัดข้องที่มิได้เกิดจากระบบของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชำระดุล

2.5 หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2) (สกช. 3/2566)

​2.6 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบที่ให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค (สนช. 2/2565)

2.7 แนวนโยบายมาตรฐานเช็ค มาตรฐานภาพเช็ค มาตรฐานใบแทน มาตรฐานใบแจ้งแก้ไขคลาดเคลื่ิอน มาตรฐานตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน  (สนช. 2/2565)

2.8 แนวนโยบายมาตรฐานการจัดทำสิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (สนช. 2/2565)

 

 

หมวด 3 บริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการ​การชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับประมวล ข้อ 3.1 - 3.3)

3.1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการ​การชำระเงินภายใต้การกำกับ (สนช. 5/2561)
      - แบบการขออนุญาตการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ

      - แบบการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ

      - แบบหนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการ

      - แบบการขอรับใบแทนกรณีใบอนุญาตฯ สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ
      - แบบประวัติกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบธุรกิจ

      - แบบรับรองผู้ถือหุ้นรายใหญ่

      - แบบรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม

3.2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการ​การชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2) (สนช. 17/2561)

3.3 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 3) (สกช. 2/2566)
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับประมวล ข้อ 3.4 - 3.5)

3.4 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (สนช. 6/2561)

      - แบบประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศ

      - แบบรายงานการเปิด หรือ ย้าย หรือปิดสำนักงานสาขา

      - แบบรายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้น 10 อันดับแรก

3.5 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2) (สกช. 4/2566)

3.6 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (สนช. 7/2561)

      - แบบรายงานส่วนของผู้ถือหุ้น

3.7 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (สนช. 9/2561)

3.8 หลักเกณฑ์การกำกับดูแลตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (สนช. 10/2561)

      - แบบรายงานสรุปรายชื่อตัวแทนและตัวแทนช่วง

3.9 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  (สนช. 2/2562)

      - แบบรายงานยอดคงค้างเงินรับล่วงหน้าจากการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

3.10 หลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) สำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (สนช. 1/2563)

3.11 หลักเกณฑ์การดำเนินการจัดการเงินรับล่วงหน้ากรณีผู้ประอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 21 และการแจ้งเหตุตามมาตรา 22 (สกช. 6/2566) 

 

 

ประกาศ แนวนโยบาย และอื่น ๆ 

1. นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ (สนช. 11/2561)

2. การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ (สนช. 12/2561)

3. มาตรฐานชิปการ์ดกลางสำหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ (สนช. 13/2561)

4. หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลด้านการชำระเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (สนช. 14/2561)

      - แบบรายงาน

5. แต่งตั้งผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (สนช. 2/2563)

 6. แต่งตั้งผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (สนช. 1/2566) 

 7. การกำหนดแบบบัตรประจำตัวผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (สนช. 18/2561)

8. การกำหนดแบบรายงานการตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน  (สนช. 19/2561)

9. หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (สนช. 1/2562)

 10. แนวปฏิบัติในการให้บริการพร้อมเพย์สำหรับบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) (ว. 1408/2563)

11. แนวนโยบายการรู้จักและการบริหารติดตามความเสี่ยงร้านค้าสำหรับการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Policy Guideline: Know Your Merchant (KYM)) (ว. 948/2564)

12. หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Risk) ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (สนช. 1/2564)

      - แบบรายงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ธปท. และประกาศที่เกี่ยวข้อง*

ติดต่อสอบถาม

1.1 จะสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้อย่างไร
  • สามารถตรวจสอบได้ที่หน้าเว็บไซต์รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ (Link)

2.1 จะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตและขั้นตอนการดำเนินการจากที่ไหน
  • สามารถศึกษาข้อมูลขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือสำหรับประชาชน (Link)

 

​2.2 นิติบุคคลต่างประเทศสามารถขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินได้หรือไม่

  • คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต/ขึ้นเทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งในประเทศไทย เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร ซึ่งสามารถศึกษาหลักเกณฑ์ตามประกาศที่ ธปท. 3/2561 (Link) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ นอกจากนี้ การให้บริการบางประเภทอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินด้วย จึงควรศึกษาหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ซึ่งสามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-356-7799

 

​2.3 หากต้องการประกอบธุรกิจที่อาจเข้าข่ายเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การกำกับ แต่ยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทสามารถขอนัดหารือ ธปท. ก่อนได้หรือไม่

  • ในเบื้องต้น ​ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือประชาชน (Link) ผ่านทางเว็บไซต์ ธปท. และหากมีความแน่ชัดในการประกอบธุรกิจและมีรูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนแล้ว สามารถศึกษาขั้นตอนการขออนุญาตได้จากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.4 ​หลังจากได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนแล้ว บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัติหรือไม่อย่างไร

  • 1. ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนที่ รมว.คลัง และ ธปท. กำหนด
    2. ประกอบธุรกิจโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด เช่น การแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การขออนุญาตดำเนินการ การส่งรายงาน รวมทั้ง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนดในการรับทราบ หรืออนุญาตตามหลักเกณฑ์

 

​2.5 รัฐวิสาหกิจสามารถขอใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารใดบ้าง

  • ​ตามประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) ข้อ 4.2 (1.1.2) ระบุว่ารัฐวิสาหกิจเป็นนิติบุคคลที่สามารถยื่นขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาตจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

​2.6 หากต้องการศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของบริษัทที่สามารถขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ และข้อกำหนดเรื่องทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของแต่ละประเภทบริการได้ที่ไหน

  • ​ขอให้บริษัทศึกษาประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาต/ขึ้นทะเบียนจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.7 ​บริษัทที่จะขอใบอนุญาต จำเป็นต้องจัดตั้งใหม่หรือไม่ หรือสามารถใช้บริษัทที่ดำเนินการอยู่แล้วมาขอใบอนุญาตได้เลย

  • บริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้ว สามารถยื่นขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กรณีการประกอบธุรกิจ emoney ที่ต้องได้รับอนุญาต จะมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้เฉพาะที่ ธปท. อนุญาตให้เป็นรายกรณีเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทมีการประกอบธุรกิจอื่นอยู่ด้วย จะต้องหารือกับ ธปท. เพื่อพิจารณาก่อนดำเนินการขออนุญาต ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์เพิ่มเติมได้จากประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link)

 

​2.8 ใบอนุญาตสามารถโอนเปลี่ยนมือได้หรือไม่ 

  • ​การอนุญาตเป็นการให้เฉพาะนิติบุคคลนั้น จึงไม่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือได้ ดังนั้นบริษัทที่ให้บริการจะต้องมี License

 

​2.9 ทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้ว ต้องมี bank guarantee หรือไม่

  • ​ไม่ต้อง

 

​2.10 กรณีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ จะมีการตรวจสอบประวัติด้วยหรือไม่

  • ​ตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน มาตรา 14 กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด ซึ่ง ธปท. จะดำเนินการตรวจสอบตามที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการและผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องมีการ Declare ข้อมูลตามแบบประวัติกรรมการและลงนามรับรองคุณสมบัติด้วย 

 

​2.11 การขอใบอนุญาตมีค่าธรรมเนียมหรือไม่

  • ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการจัดเก็บค่าใบอนุญาต ทั้งนี้ หากในอนาคตจะมีการเก็บค่าใบอนุญาต จะมีการประกาศให้ทราบต่อไป

 

2.12 ​ใบอนุญาตมีวันหมดอายุหรือไม่

  • ​ใบอนุญาตไม่มีกำหนดวันหมดอายุ

 

​2.13 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต e-Money สามารถประกอบธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ได้หรือไม่

  • ผู้ประกอบธุรกิจ e-Money ต้องประกอบธุรกิจเฉพาะ e-Money เท่านั้น หากจะประกอบธุรกิจอื่นจะต้องเป็นไปตามขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ประกาศกำหนด โดยสามารถศึกษาได้ตามประกาศ สนช.ที่ 7/2561 (Link) ข้อ 4.2.11 ซึ่งระบุว่า ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ห้ามประกอบธุรกิจอื่นนอกจาก (1) ธุรกิจที่บางส่วนหรือทั้งหมดเกี่ยวกับหรือเนื่องจากการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (2) ธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจระบบหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหลัก และเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ ดังนั้น หากบริษัทประสงค์จะประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ขอให้หารือ ธปท. ก่อน โดยประสานงานกับ Compliance Officer ที่ดูแลบริษัทได้โดยตรง

 

2.14 ​มีคู่มือประชาชนที่เป็นภาษาอังกฤษ และสามารถยื่นเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่

  • สามารถดู​คู่มือประชาชนฉบับภาษาอังกฤษได้ที่หน้าเว็บไซต์ (Link) ส่วนเอกสารส่วนใหญ่สามารถยื่นเป็นภาษาอังกฤษได้ ยกเว้นเอกสารที่มีการกำหนดแบบฟอร์มไว้แล้ว เช่น แบบฟอร์มการขอใบอนุญาตที่ต้องยื่นเป็นภาษาไทย